4 ต.ค.58 แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ความเป็นมาของการทำซิงเกิลเกตเวย์ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เคยส่งคณะทำงานไปศึกษาการจัดทำโครงข่าย และประเมินงบประมาณที่ต้องใช้จ่ายในโครงการ ในงบประมาณการจัดทำซิงเกิลเกตเวย์ ที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อช่วงเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา
โดยมีการใช้งบประมาณวงเงินสูงถึง 1.6 หมื่นบ้านบาท ในการสร้างเซิร์ฟเวอร์ และวางระบบใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อโครงข่ายให้เป็นท่อเดียว ซึ่งยังไม่นับรวมถึงระบบสำรองไว้ใช้กรณีฉุกเฉินที่ต้องทำระบบรองรับ ใช้เงินอีกจำนวนมาก แต่หากผนวกรวมกับแผนการสร้างเศรษฐกิจดิจิตอลของรัฐบาล คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท ในการเชื่อมต่อระบบทั้งหมด ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งตามแผนจะคุ้มทุน เพราะจะมีการบังคับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) ในประเทศไทย ซึ่งมีมากกว่า 10 ราย มาเช่าโครงข่าย ก็สามารถคุ้มทุนภายใน 5 ปี โดยภาระนี้ก็จะตกแก่ประชาชนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในปะเทศอีกทอดหนึ่ง โดยเก็บผ่านค่าบริการ
ทั้งนี้ มูลค่าการจัดซื้อเครื่อมมือที่มีราคาสูง อาจทำให้เกิดข้อครหาต่อรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นายกรัฐมนตรีจึงได้มอบนโยบายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ไปศึกษาวิธีและแผนให้ชัดเจนอีกครั้ง ให้รวมถึงการป้องกันเด็กเยาวชนในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ และการโจมตีสถาบัน
อย่างไรก็ตาม แนวคิดการจัดทำซิงเกิลเกตเวย์ เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯ ดูแลด้านเศรษฐกิจ (ในขณะนั้น) ได้เสนอทำแผนศึกษาไว้เบื้องต้น พร้อมแผนสร้างระบบเศรษฐกิจดิจิตอลในประเทศ
นอกจากนี้ แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ได้คัดค้านโครงการดังกล่าว เพราะเป็นการสร้างธุรกิจแบบผูกขาดโดยรัฐ หรือแทรกแซงการแข่งขันเอกชน โดยไม่เคยเห็นข้อดี ทำระบบพัฒนาได้ช้า
มันยอมจะเสียเงินมหาศาลเพื่อไอ้บอดทั้งที่ประชาชนอยากจน
No comments:
Post a Comment