วิทยุนปช. ยูเอสเอ

12 มีนาคม 2558 รำลึกถึงพี่วู๊ดไซด์ นิวยอร์ค แห่ง นปช.ยูเอสเอ ครบรอบร้อยวัน การมรณภาพของท่าน
::: วิทยุ นปช.ยูเอสเอ ::: :::::: วิทยุมหาวิทยาลัยประชาชน :::

Saturday, November 7, 2015

ระวัง!!! แล้งหน้า กลัวว่าจะเผาจริง

ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี
·
แล้งหน้า กลัวว่าจะเผาจริง

เอาอีกแล้ว จำนำข้าวกลายเป็นสาเหตุของน้ำแล้งปีนี้ไปจนได้ (หยุดจำนำมา 2 ฤดูฝนแล้วนะครับ) ปีที่แล้วเดือนเมษายนก็หาว่ากลัวน้ำท่วมรัฐบาลเก่...าเลยระบายน้ำทิ้งทำให้ เกิดภัยแล้ง ดีแต่อดีตอธิบดีกรมชลประทานออกมาแก้ตัวว่า ไม่ได้พูดอย่างนั้นเรื่องจึงจบไป (ตอนนี้กำลังเป็นแฟชั่น คือ พูดแล้วบอกไม่ได้พูด) ที่จริงผมก็เกรงใจไม่อยากต่อปากต่อคำ แต่ได้รับคำเตือนว่า หากไม่อธิบายความจริงต่อสาธารณะ ก็อาจจะเกิดความเสียหายถึงขั้นมีคดีไปฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ ดังนั้นจึงขอให้ข้อมูลโดยสังเขป ดังนี้

(1) เมื่อมีการควบคุมอำนาจ (22 พฤษภาคม 2557) คณะคสช/รัฐบาลมีน้ำอยู่ในมือ 214,638 ล้านลูกบาตรเมตร (ลบ.ม.) แบ่งเป็นน้ำในเขื่อน 35,773 ล้านลบ.ม. และน้ำท่า (หนอง บึง แม่น้ำ ลำคลอง) อีกประมาณ 180,000 ล้านลบ.ม. ซึ่งรวมแล้วเป็นปริมาณมากกว่าในเดือนเดียวกันของรัฐบาลยิ่งลักษณ์เสียอีก (33,733 ล้านลบ.ม.) แต่เป็นเพราะการบริหารไม่แม่นยำและคาดการณ์ผิดว่าฝนจะตกตามปกติ จึงเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงต้นปี 2558

(2) ตัวอย่างเฉพาะเขื่อนภูมิพล ในช่วงรัฐบาลท่านอภิสิทธิ์ในปี 2552 มีการใช้น้ำ 53% ครั้นปี 2553 ก็ได้ใช้ 42%จากที่มีอยู่รัฐบาลท่านยิ่งลักษณ์ในปี 2554 ได้ใช้น้ำ 45% จากที่มีอยู่ พอปีที่สอง คือ ปี 2555 ได้ใช้น้ำ 33% จากการเก็บน้ำและในปีที่สาม คือ ในปี 2556 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายก็ได้ใช้น้ำ 52% จากที่มีอยู่

ส่วนรัฐบาลท่านพล.อ.ประยุทธ์ในปีแรกของท่าน คือ ในปี 2557 ท่านได้ใช้น้ำไป 67% และในปีนี้ 2558 ใน 10 เดือน ท่านได้ใช้น้ำจากเขื่อนไปแล้ว 43% ตัวเลขเหล่านี้จึงเป็นการยืนยันว่า ทุกรัฐบาลได้ใช้น้ำในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน เพราะถูกกำกับและควบคุมโดยคณะกรรมการจัดสรรน้ำซึ่งเป็นของฝ่ายข้าราชการ ประจำ มีขบวนการควบคุมการเก็บกักและระบาย (Rule Curve) ตามหลักวิชาการที่แม่นยำ ดังนั้นจึงไม่มีรัฐบาลไหนไปสั่งเก็บ สั่งระบายตามใจชอบ ตามความต้องการเฉพาะของตนได้เด็ดขาด

ในแวดวงวิชาการมีการคาดการณ์ว่าปี 2559 จะเป็นปีที่แล้งที่สุดในรอบ 50 ปี ของประเทศไทย เพราะจะมีน้ำให้ใช้สอยจากเขื่อนต่าง ๆ เพียงไม่เกิน 17,000 ล้านลบ.ม. และน้ำท่า คือ น้ำในแม่น้ำลำคลองก็จะมีอยู่อย่างจำกัด ไม่เกิน 100,000 ล้านลบ.ม. (ครึ่งหนึ่งของที่เคยมี)

ผมเห็นว่าสิ่งที่ควรทำที่สุดในขณะนี้ คือ การจัดตั้ง War Room เพื่อการเผชิญเหตุภัยแล้งในขั้นวิกฤต จากประสบการณ์ในฐานะผู้จัดตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติและเป็นผู้อำนวย การเองอยู่ถึงสองรัฐบาล ผมขอคาดการณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในหน้าแล้งหน้า ดังนี้

1. ไม่อาจทำการเกษตรอะไรได้เลย (หรือทำได้แต่น้อยมาก)

2. น้ำทะเลจะหนุนขึ้นมาสูงมากและจะเป็นปัญหาต่อคุณภาพของน้ำประปา (ทั้งกลิ่น รส และการล้างสบู่) และจะทำลายพืชสวนต่าง ๆ โดยเฉพาะในเขตจังหวัดนนทบุรี

3. น้ำตามคู คลอง ในกรุงเทพฯ จะเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็น มียุงชุกชม (เพราะไม่มีน้ำจืดมาขับไล่ลงทะเลเช่นเคย)

4. น้ำกินน้ำใช้ในชนบทจะขาดแคลนอย่างยิ่ง หนองน้ำซึ่งมีไว้ทำน้ำประปาชุมชนจะต้องหยุดกิจการ

5. น้ำเพื่อการอุตสาหกรรมจะขาดแคลนและจะหันไปใช้น้ำบาดาลแทน

6. การท่องเที่ยวอาจจะมีปัญหา เพราะจะมีข่าวว่าน้ำประปากรุงเทพฯ เหม็น ไม่สะอาด คูคลองต่าง ๆ น้ำเน่าเสียหมดและสนามกอล์ฟจำนวนมากจะเสียหายย่อยยับ

7. จะมีการแย่งชิงทะเลาะเบาะแว้งในหมู่ประชาชนในเรื่องน้ำกินน้ำใช้ (เหมือนตอนน้ำท่วมในเรื่องปิดเปิดประตูระบายน้ำ)

8. ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะลดลงต่ำมาก การคมนาคมทางเรือเหนืออยุธยา อาจทำไม่ได้ ส่วนแม่น้ำป่าสักจะมีอุปสรรคอย่างยิ่ง จนกระทบโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ทำให้ต้องใช้การขนส่งทางรถยนต์แทน ซึ่งจะสร้างความโกลาหลในถนนสายเอเชียมากพอสมควร

ที่พูดมาโดยสังเขปนี้ไม่ใช่แช่ง แต่เป็นห่วงมากจริง ๆ และเชื่อว่า ข้าราชการประจำก็อาจจะไม่กล้าพูดความจริง เพราะกลัวความดุของท่าน แต่มันจะเกิดขึ้นครับ

โดยส่วนตัวขออวยพรให้ท่านแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้สำเร็จ อะไรพอจะหยิบจับได้ ยินดีครับ แต่อย่าดุผมนะ เพราะตอนนี้ 70 ปี แล้ว

ขอย้ำว่า ภัยแล้งที่เกิดขึ้น (แน่ๆ) นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 ไปแล้วนี้ เกิดจากธรรมชาติบวกน้ำมือมนุษย์ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ (Climate Change) ผสมเอลนีโน (El Nino) จึงไม่มีใครจะต่อว่ารัฐบาลได้ แต่ประชาชนทุกคนก็หวังว่ารัฐบาลจะเป็นที่พึ่ง หากรอดแต่สะบักสะบอมก็มีหวังโดนสวดแน่ๆ เหมือนกัน

ดูเพิ่มเติม

Dr. Piangdin Rakthai's Public Ren·dez·vous's photo.

No comments:

Post a Comment