วิทยุนปช. ยูเอสเอ

12 มีนาคม 2558 รำลึกถึงพี่วู๊ดไซด์ นิวยอร์ค แห่ง นปช.ยูเอสเอ ครบรอบร้อยวัน การมรณภาพของท่าน
::: วิทยุ นปช.ยูเอสเอ ::: :::::: วิทยุมหาวิทยาลัยประชาชน :::

Saturday, December 5, 2015

เตียง ศิริขันธ์ : วีรบุรุษที่ประวัติศาสตร์ไทย(แกล้ง)ลืม


จึงเป็นคำถามที่คำตอบอาจอยู่แต่ในสายลม-ถึงที่สุดแล้ว ประชาชนเป็นใหญ่จริงหรือ กับระบอบประชาธิปไตยในบ้านเมืองเรา ย้อนหลังจากวันนี้ไป 101 ปี ณ วันที่ 5 ธันวาคม 2452 วีรบุคคลผู้ที่เหมือนว่าหน่วยงานเกี่ยวกับการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยไม่อยาก จะจดจำจารึกไว้ให้เยาวชนเรียนรู้ ถือกำเนิดเกิดขึ้นบนแผ่นดินอีสาน บุคคลผู้นั้นชื่อ "เตียง ศิริขันธ์"

ด้วยชีวิตวัยเยาว์ในบ้านเกิดจังหวัดสกลนคร เตียง ศิริขันธ์ได้รับการส่งเสริมจากบุพการีให้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนสร้างความ เจริญก้าวหน้าให้กับตนเอง จนสามารถเรียนจบประกาศนียบัตรสูงสุดสำหรับครู หรือครู ป.ม.จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในเวลาต่อมาได้เข้าทำงานเป็นครูสมดังปรารถนา


แต่แล้วเพราะความคิดก้าวหน้า กล้าพูด กล้าทำ กล้ายืนหยัดต่อกับกรกับสิ่งอยุติธรรมทั้งหลาย ในที่สุดก็ถูกข้อหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ร่วมกับเพื่อนครูอีก 2 คน เหตุเพราะเช้าวันหนึ่งมีมือมืดเอาธงแดงมีตราค้อนเคียวชักขึ้นบนยอดเสาแทน ธงชาติ ซึ่งในยุคนั้นมิใช่เรื่องแปลกอะไรหากจะมีนักคิด-เขียนหัวก้าวหน้าโดนข้อหา นี้ ประชาชนคนไหนที่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองไม่ชอบขี้หน้าอาจถูกยัดข้อหานี้เอา ง่ายๆ ถือเป็นข้อหาคลาสสิกเอาเลยทีเดียว

และนี่เองถือเป็นจุดหักเหของชีวิตครู หนุ่มไฟแรงแห่งแผ่นดินอีสานให้หันหน้าเข้าสู่แวดวงการเมือง เพราะถึงแม้ว่าศาลจะพิจารณาและพิพากษายกฟ้องแล้วก็ตาม แต่การที่ต้องถูกกล่าวหาและพัวพันกับคดีอยู่เป็นเวลายาวนาน ทำให้นายเตียงตัดสินใจเปลี่ยนเข็มชีวิตตนเข้าสู่สังเวียนรัฐสภา

ปี 2476 เดือนพฤศจิกายน ประเทศไทยมีการเลือกตั้งครั้งแรก เป็นการเลือกตั้งโดยอ้อม ส่วนการเลือกตั้งโดยทางตรงของไทยครั้งแรกมีขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2480 นายเตียงได้สมัครเข้ารับเลือกตั้งในจังหวัดสกลนคร และก็ได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฎรของจังหวัดสกลนครเรื่อยมา


ด้วยความเป็นผู้แทนราษฎรหนุ่มไฟแรง มีอุดมการณ์แก่กล้า กอปรกับมีเพื่อน ส.ส.จากที่ราบสูงเหมือนกัน ร่วมทำงานเป็นทีมเวิร์ค คือ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ส.ส.จังหวัดอุบลราชธานี, นายจำลอง ดาวเรือง ส.ส.จังหวัดมหาสารคาม และนายถวิล อุดล ส.ส.จังหวัดร้อยเอ็ด จนได้รับสมญานาม 4 ส.ส.อีสาน ดังที่กวีซีไรต์เลือดอีสาน ไพวรินทร์ ขาวงาม ได้ประพันธ์ไว้ว่า...

ดาวหนึ่งทองอินทร์นั้น เลือดอุบล
ดาวหนึ่งเตียงเลือดสกล เลือดสู้
ดาวหนึ่งถวิลเลือดคน ร้อยเอ็ด
ดาวหนึ่งจำลองกู้ เลือดสารคาม 
(จากหนังสือ เตียง ศิริขันธ์ ขบวนการเสรีไทยสกลนคร โดย ผศ.ปรีชา ธรรมวินทร หน้า 142)

เห็นได้จากการอภิปรายในสภาปี 2487 ต่อต้านโครงการนครหลวงเพ็ชรบูรณ์และพุทธบุรีมณฑลสระบุรีของรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม เนื่องจาก ส.ส.อีสานทั้งสี่เห็นว่าโครงการดังกล่าวสร้างความทุกข์ยากลำบากให้กับ ประชาชนอย่างหนัก โดยเฉพาะโครงการย้ายเมืองหลวงไปตั้งที่จังหวัดเพชรบูรณ์เพราะเมืองเพชรบูรณ์ สมัยนั้นเป็นป่าทึบ เต็มไปด้วยเชื้อไข้มาลาเรีย ปรากฏว่าพอสร้างไปได้ 1 ปี มีประชาชนถูกเกณฑ์ไปทำงานกว่า 100,000 คน ป่วย 14,316 คน และเสียชีวิต 4,040 คน ประชาชนที่ถูกเกณฑ์โดยได้รับสัญญาว่าจะจ่ายค่าจ้างให้วันละ 5 สตางค์ต่อวัน ส่วนใหญ่มาจากพื้นที่ภาคอีสาน

พอพระราชกำหนดนี้เข้าสู่สภา ปรากฏว่า ส.ส.ทั้งสี่ได้ร่วมกันอภิปรายคัดค้านอย่างหนัก และเมื่อลงเสียงคะแนนแบบลับ เพราะส.ส.ทั้งสี่เห็นว่าหากให้ยกมือลงคะแนนอย่างเปิดเผย ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลอาจเกิดการกดดันเกรงใจไม่กล้ายกมือสนับสนุน ในที่สุดรัฐบาลก็แพ้ไปด้วยคะแนน 48 ต่อ 36 เสียง เป็นผลให้รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ต้องลาออก


แต่ก็นั่นแหละ การเมืองมีขึ้นมีลงตามกฎอนิจจลักษณะ หลังจากรัฐนาวาเผด็จการทหารของจอมพล ป.พิบูลสงคราม อับปางลงในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนอับปางรัฐบาลจอมพล. คนนี้ ได้นำพาประเทศเข้าร่วมจมหัวจมท้ายกับญี่ปุ่นจนหวุดหวิดเกือบต้องกลายเป็น ประเทศพ่ายแพ้สงครามไปด้วย ยังดีที่ ท่านรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งสมัยนั้นได้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ใช้ปัญญาอย่าง แยบคายกอบกู้คืนมาได้ โดยจัดตั้งองค์กรลับภายใต้ชื่อ "ขบวนการเสรีไทย" (Free Siamese Movement) และช่วงนี้นี่เองที่นายเตียง ศิริขันธ์ หรือที่ใช้ชื่อรหัสว่า "พลูโต" มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อขบวนการเสรีไทยสายอีสาน โดยเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดสกลนคร เนื่องจากได้เป็นแกนนำจัดตั้งค่ายเสรีไทยเพื่อฝึกฝนกำลังพล มีประชาชนเข้าร่วมปฏิบัติการกู้ชาติครั้งนี้นับหมื่นคนจากทั่วทุกค่ายในเขต จังหวัดภาคอีสาน

ทั้งๆ ที่งานเสรีไทย เป็นงานอุดมการณ์ทำเพื่อชาติ อาจต้องยอมพลีแม้กระทั่งชีพตนเอง ไม่มีผลตอบแทนอันใด จะมีก็แต่ความภาคภูมิใจในการได้ทำงานเพื่อพิทักษ์มาตุภูมิ แต่ประชาชนทั้งชาวจังหวัดสกลนครและจังหวัดอื่นๆ ในภาคอีสานก็พร้อมใจกันเข้าร่วม เนื่องจากทุกคนมีใจรักชาติ และส่วนหนึ่งเกิดจากศรัทธาต่อนายเตียง ศิริขันธ์ผู้เป็นบุคคลต้นแบบเรื่องความเสียประโยชน์สุขส่วนตนเพื่อประเทศ ชาติ ดังที่คุณฉลบชลัยย์ พลางกูร (ภรรยาของจำกัด พลางกูร ผู้เดินทางไปประเทศจีนเพื่องานเสรีไทยและเสียชีวิตในระหว่างเดินทาง) กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า...


"...ตอนนั้นคุณเตียงให้คุณนิวาศน์ ถอดเครื่องประดับทั้งหมด มีสายสร้อย ล็อกเกต แหวน รวมทั้งแหวนของตัวเองด้วย มอบให้จำกัดเผื่อว่าจะไปตกทุกข์ได้ยาก เพราะการเดินทางนั้นมืดมนเต็มที ญี่ปุ่นอยู่เต็มไปหมด ดิฉันเชื่อว่าถ้าคุณเตียงรู้ตัวก่อนนั้น คงจะรวบรวมเงินทองให้จำกัดอีกเป็นแน่ และของเหล่านี้ (จำกัดเขียนไว้ในสมุดบันทึก) ว่าได้ช่วยเขาอย่างมากจริงๆ..." (จาก คำเกริ่นนำโดย ฉลบชลัยย์ พลางกูร ในหนังสือ เตียง ศิริขันธ์วีรชนนักประชาธิปไตย ขุนพลภูพาน โดย ศ.วิสุทธ์ บุษยกุล หน้า 17)


พลพรรคเสรีไทยภาคอีสานจากค่ายต่างๆ ฝึกฝนพัฒนาตนแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ โดยได้รับการสนับสนุนด้านอาวุธยุทธปัจจัยจากประเทศสัมพันธมิตร แม้ว่าสุดท้ายแล้วญี่ปุ่นกลับประเทศฝ่ายอักษะ จะประกาศยอมแพ้สงครามเสียก่อนที่กองทัพเสรีไทยได้สำแดงพลังต่อสู้ให้ ประจักษ์ต่อสายตาชาวโลก แต่ถึงกระนั้น ด้วยอุดมการณ์อันสูงส่ง แสดงจุดยืนอย่างชัดเจน มีหลักฐานทั้งด้านเอกสารและกำลังพลเพียบพร้อม สามารถอ้างเป็นหลักฐานให้ประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรเชื่อว่าประเทศไทย ไม่ใช่พวกเดียวกับญี่ปุ่น ดังคำสุนทรพจน์ของ "รูธ" ที่ได้กล่าวในพิธีสวนสนามกองทัพเสรีไทยท่อนหนึ่งว่า

"...เสรีไทยมิใช่ผู้ที่อยู่ใต้ครอบ ครองของญี่ปุ่น ความหมายก็คือไทยที่เป็นเสรีไทยทั้งหลายที่ต้องการให้ประเทศของตนเป็นอิสระ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ต่างประเทศรับรองการกระทำของผู้ที่อยู่ในต่างประเทศ หาใช่คณะหรือพรรคการเมืองไม่ ส่วนองค์การต่อต้านภายในประเทศนั้น ในชั้นเดิมไม่มีชื่อเรียกองค์การว่าอย่างไร การชักชวนให้เริ่มงานตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2488 เป็นต้นมา ก็ชักชวนต่อต้านญี่ปุ่นให้พ้นประเทศ และเมื่อองค์การภายในและภายนอกประเทศติดต่อกันแล้วในชั้นหลัง สาส์นที่เจ้าหน้าที่ต่างประเทศได้มีมายังข้าพเจ้า เรียกขานองค์การที่เราร่วมงานระหว่างคนทั้งภายในและภายนอกนี้ว่า Free Siamese Movement หรือขบวนการเสรีไทย เป็นนามสมญาที่ควรยอมรับ ข้าพเจ้าก็ได้ถือเอานามนี้โต้ตอบกับต่างประเทศโดยใช้นามองค์การว่า องค์การขบวนเสรีไทย...." (จากหนังสือเตียง ศิริขันธ์ ขบวนการเสรีไทยสกลนคร โดย ผ.ศ.ปรีชา ธรรมวินทร หน้า 132)


หลังจากอุทิศชีวิตเป็นแกนนำจัดตั้ง เสรีไทยสายอีสาน ภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรงจากท่านปรีดี พนมยงค์ ซึ่ง นายเตียง ศิริขันธ์ให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก ร่วมกันนำพาประเทศผ่านพ้นมรสุมครั้งใหญ่มาได้ พบกับช่วงวันฟ้าใสในหน้าที่การงาน บำเพ็ญประโยชน์ให้กับประเทศชาติ ได้เป็นรัฐมนตรีหลายสมัย ตั้งแต่รัฐบาลทวี บุณยเกตุ รัฐบาลเสนีย์ ปราโมช รัฐบาลปรีดี พนมยงค์ 1, 2, 3 และรัฐบาลถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ 1, 2, 3, 4 มีผลงานเด่นๆ มากมาย เป็นต้นว่าได้ก่อตั้ง "สันนิบาตแห่งเอเชียอาคเนย์" (Union of Southeast Asian) ซึ่งก็คือที่มาขององค์การ "อาเซียน" ในปัจจุบัน


แต่สุดท้ายทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้อง ชะงักงันเมื่อกลุ่มอำนาจนิยม-อนุรักษนิยมทำการรัฐประหารในวันที่ 8 พฤษภาคม 2480 คณะกลุ่มโจรปล้นประเทศพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อกำจัดขั้วอำนาจเก่าสายท่าน ปรีดี พนมยงค์ โดยเอา "กรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8" เป็นข้ออ้างมาบ่อนทำลาย สร้างความชอบธรรมในการล้มล้างศัตรูทางการเมือง เข้ากุมอำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จ เป็นผลให้ท่านปรีดีต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ 4 ส.ส.อีสานถูกโจรในเครื่องแบบวิสามัญฆาตกรรมทางเมืองอย่างโหดเหี้ยมป่าเถื่อน ที่ทุ่งบางเขน นาย เตียง ศิริขันธ์ต้องหลบหนีเข้าป่าภูพาน และถูกยัดเยียดข้อหา "กบฏแบ่งแยกดินแดน" ในที่สุด และนายเตียงได้ฉายา "ขุนพลภูพาน" ก็จากการต่อสู้กับอำนาจรัฐครั้งนี้

อ่านฉบับสมบูรณ์ต่อที่ http://darkage-marcus.blogspot.com/2011/12/blog-post_1059.html

No comments:

Post a Comment