วิทยุนปช. ยูเอสเอ

12 มีนาคม 2558 รำลึกถึงพี่วู๊ดไซด์ นิวยอร์ค แห่ง นปช.ยูเอสเอ ครบรอบร้อยวัน การมรณภาพของท่าน
::: วิทยุ นปช.ยูเอสเอ ::: :::::: วิทยุมหาวิทยาลัยประชาชน :::

Friday, April 29, 2016

การลุกฮือของประชาชนที่ถูกทรราช คสช. กดขี่ คุมขัง มีโอกาสเกิดสุงมาก

หากเรามองเหตุการณ์ ณ. วันนี้ พี่น้องทุกท่าน เตรียมตัวกันหรือยังกับ ความเลวร้าย ของประเทศ ที่ทรราช คสช.จะทำให้เกิดขึ้นในไม่ช้านี้

สรุป การลุกฮือของประชาชนที่ถูกกดขี่ ตุมขัง มีโอกาสเกิดมากกว่า
--------------------------------------------------------------------------------------

อนาคตการเมืองไทยกำลังจะเจอกับอะไร เช่น

รัฐประหารซ้อน,

เป็นไปตาม road map,

การนองเลือด

ประชาธิปไตยครึ่งใบ,

hybrid regime

หรือการลุกฮือขึ้นต่อต้านรัฐบาลทหาร
-

คุยกับประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ที่ทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของประชาชนในเหตุการณ์ 14 ตุลา และศึกษาเรื่องความรุนแรงในการเลือกตั้ง โดยวาระนี้คงหนีไม่พ้นการพูดคุยกันเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ การทำประชามติ ไปจนถึงวิเคราะห์สถานการณ์ช่วงเปลี่ยนผ่านว่าจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง และทางออกจากรัฐทหารมีมากน้อยเพียงไหน
-
เมื่อพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมทั้งหมด คิดว่าอนาคตการเมืองไทยกำลังจะเจอกับอะไร เช่น รัฐประหารซ้อน, เป็นไปตาม road map, การนองเลือด ประชาธิปไตยครึ่งใบ, hybrid regime หรือการลุกฮือขึ้นต่อต้านรัฐบาลทหาร
-
อนาคตการเมืองไทยเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน เป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยาก เพราะมีปัจจัยซับซ้อนหลายอย่างที่สะสมผูกเป็นปมเงื่อนที่ยากแก้การแก้ไขใน ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และในระยะ "เปลี่ยนผ่าน" ที่เปราะบางและอ่อนไหวนี้ ลำพังปัจจัยในระดับตัวบุคคล (หมายถึงการตัดสินใจต่างๆ ของชนชั้นนำหยิบมือเล็กๆ) ก็สามารถพลิกผันการเมืองไทยได้ให้ออกหัวออกก้อยได้ แต่สำหรับ scenario ที่เป็นไปได้หลากหลายดังที่ถามมา ผมคิดว่ารัฐประหารซ้อนมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยที่สุด ไม่ใช่ว่าจะถึงกับเป็นไปไม่ได้ แต่เท่าที่ดูสถานการณ์ปัจจุบัน มันยากมาก เพราะกองทัพค่อนข้างเป็นเอกภาพโดยเฉพาะในระดับนำ เนื่องจากถูกยึดกุมโดยขั้วเดียวกลุ่มเดียวมาเป็นเวลาเกือบทศวรรษ ขั้วอื่นๆ ที่ไม่อยู่ในสายคุมอำนาจปัจจุบันถูกเตะโด่งหรือถูกสกัดกั้นออกจากสายอำนาจ จึงยากที่จะมีการรัฐประหารซ้อนในกองทัพเกิดขึ้นได้ในระยะใกล้นี้

-
แต่แน่นอนว่า roadmap ที่จะมีการเลือกตั้งในปลายปี 2560 นั้นไม่ได้ราบเรียบมีโอกาสสะดุดได้ตลอดทาง อย่าลืมว่าการเลือกตั้งเองก็เคยถูกเลื่อนมาจาก roadmap เดิมแล้ว หัวเลี้ยวหัวต่ออยู่ที่ประชามติ ถ้าประชามติรัฐธรรมนูญผ่านและนำไปสู่การเลือกตั้งและไม่มีอุบัติเหตุเกิด ขึ้นกลางทางระหว่างนั้น หลังเลือกตั้ง สังคมไทยก็จะเผชิญกับการสถาปนาระบอบเผด็จการอำนาจนิยมที่แฝงตัวมาในร่าง ประชาธิปไตย (อย่างน้อยเอาไว้แสดงต่อนานาชาติ เพื่อให้ระบอบมันพอดูมีความชอบธรรม) ที่ชนชั้นนำในระบบราชการโดยเฉพาะกองทัพจะมีอำนาจในการกำกับควบคุมการเมือง ไทย โดยสถาบันทางการอย่างการเลือกตั้ง พรรคการเมือง รัฐสภา จะเป็นเพียงสถาบันพิธีกรรมที่ไม่ได้มีอำนาจอะไรมากนัก คือ จะเป็นระบอบที่ถอยไปไกลกว่าระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบสมัยอดีตนายกฯ เปรม เรียกว่าประชาธิปไตยแบบเศษเสี้ยวจะดีกว่า เพราะมันไม่ถึงครึ่ง

-
อย่าลืมว่าสมัยรัฐธรรมนูญ 2521 เรายังไม่มีองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญที่มีอำนาจล้นฟ้าแบบในร่างรัฐ ธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่สามารถขัดขวางการทำงานของรัฐบาลหรือทำให้รัฐบาลล้มไป ได้ตลอดเวลา ยังไม่ต้องพูดถึงว่านายกฯ ก็มีแนวโน้มว่าจะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง พูดง่ายๆ เจตนารมณ์ของประชาชนที่แสดงออกผ่านการใช้สิทธิเลือกตั้งมันแทบจะไม่สามารถ กำหนดทิศทางของประเทศได้เลย คราวนี้แหละจะกลายเป็น "ประชาธิปไตย 4 วินาที" ของจริง คือเลือกตั้งเสร็จแล้วอำนาจประชาชนก็แทบหมดไปทันที กระบวนการตั้งรัฐบาลและการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาลจะหลุดไปอยู่ในมือของ องค์กร "อิสระ" และกลุ่มบุคคลต่างๆ ที่ไม่ได้มาจากการเลือกของประชาชนเลย โดยเฉพาะส.ว. 250 คนที่จะมาจากการแต่งตั้งโดยคสช. องค์กรและกลุ่มบุคคลเหล่านี้จะกลายเป็นกลุ่มอำนาจที่ทรงพลัง

-
พูดง่ายๆ ว่าเราไม่ได้ถอยกลับไปสู่ระบอบ "เปรมาธิปไตย" เพราะระบอบที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้พยายามสร้างขึ้นมันเป็นระบอบเผด็จการ อำนาจนิยมในรูปแบบใหม่ที่ต่างไปจากประชาธิปไตยครึ่งใบสมัยยุคเปรม เป็นการใช้อำนาจร่วมกันระหว่างชนชั้นนำข้าราชการ ศาลและองค์กรอิสระโดยมีรัฐบาลและรัฐสภาเป็นเครื่องประดับ และทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้การชี้นำของกองทัพ เป็นระบอบ "อำนาจนิยมแบบไทยๆ"

-
นี่คือพิมพ์เขียวที่ชนชั้นนำในปัจจุบันพยายามสร้างขึ้น และต้องเข้าใจว่าไม่ใช่เพื่อระยะเปลี่ยนผ่าน แต่เค้าตั้งใจให้มันเป็นระบอบถาวร ถามว่าระบอบดังกล่าวจะสร้างได้สำเร็จและจะอยู่คงทนหรือไม่ อันนี้ตอบลำบาก แต่ถ้าดูจากพลวัตรการเมืองไทยตั้งแต่หลังเหตุการณ์พฤษภา 2535 เป็นต้นมา ไม่มีกลุ่มชนชั้นนำไหนสถาปนาอำนาจได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดไม่ว่าจะเป็นชน ชั้นนำจากการเลือกตั้งหรือชนชั้นนำจากกองทัพ การรัฐประหาร 2534 และ 2549 ล้มรัฐบาลพลเรือนจากการเลือกตั้งได้ก็จริง แต่ก็ไม่สามารถสถาปนาระบอบเผด็จการที่มีเสถียรภาพขึ้นมาแทนที่ได้ คือเราไม่มีทั้ง consolidation of democracy และ consolidation of authoritarianism ถ้าเราดูข้อเท็จจริงง่ายๆ หลังปี 2535 เป็นต้นมา ไม่มีระบอบไหนหรือใครอยู่ในอำนาจได้เกิน 5 ปี ห้าปีนี่ยาวสุดแล้ว

-
ในเมืองไทย อำนาจและระบอบการเมืองมันสวิงไปมาตลอด เพราะชนชั้นนำมันมีหลายกลุ่มไม่เป็นเอกภาพและมวลชนตื่นตัวทางการเมืองมาก ขึ้น การลุกฮือขึ้นของประชาชนเพื่อต่อต้านและล้มรัฐบาลเกิดขึ้นให้เห็นมาตลอด ตั้งแต่ปี 2535 ฉะนั้นเราไม่อาจตัดความเป็นไปได้นี้ออกไป เพราะประวัติศาสตร์มันมีบทเรียนให้เห็นมาหลายครั้ง และเราต้องไม่ลืมว่าทศวรรษที่ผ่านมาคือ ทศวรรษที่การตื่นตัวและการมีส่วนร่วมของประชาชนไทยอยู่ในระดับที่สูงที่สุด แล้ว ภาวะสงบตอนนี้เป็นภาวะชั่วคราวเท่านั้น เทียบกันแล้วโอกาสที่จะเกิดการขบวนการประท้วงของมวลชนเพื่อล้มรัฐบาลมี มากกว่าการรัฐประหารซ้อน แต่ต้องอาศัยสถานการณ์ที่สุกงอมมากๆ บวกกับสิ่งที่เรียกว่า "ชนวน" หรือน้ำผึ้งหยดเดียว ซึ่งหมายถึงการตัดสินใจที่ผิดพลาดมากๆ ของผู้กุมอำนาจเองที่ทำให้ตัวเองสูญเสียความชอบธรรมอย่างฉับพลันและรุนแรง มันเป็นสิ่งที่เราคาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้เลยว่าอะไรจะคือชนวนหรือน้ำผึ้งหยด นั้น ตอน14 ตุลาฯ ที่ล้มรัฐบาลถนอม ก็คือการจับกุมแกนนำเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ตอนพฤษภา35 คือการ "เสียสัตย์เพื่อชาติ" ของพลเอกสุจินดา ตอนล้มรัฐบาลทักษิณคือ การขายหุนเทมาเส็ก และตอนล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์คือ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

-
สรุป รัฐประหารซ้อนโอกาสน้อย การลุกฮือของประชาชนมีโอกาสมากกว่าแต่สถานการณ์ต้องสุกงอม ถ้าไม่มีการเคลื่อนไหวมวลชน แนวโน้มก็คือ การเมืองไทยเดินหน้าสู่ระบอบเผด็จการจำแลงในนามประชาธิปไตยที่เหลือแต่รูป แบบที่กลวงเปล่า ที่ชนชั้นนำในกองทัพเป็นผู้คุมทิศทางประเทศ

-
ในฐานะที่ศึกษาเรื่องการใช้ความรุนแรงในทางการเมือง เห็นเงื่อนไขของการใช้ความรุนแรงในการเมืองไทยยุคปัจจุบันหรือไม่

-
เงื่อนไขของความรุนแรงเกิดขึ้นได้ง่ายในปัจจุบัน เพราะชนชั้นนำทยอยปิดประตูของการแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธีลงไปทีละบานๆ จนแทบไม่เหลือแล้ว ไม่เปิดให้มีเวทีที่ความเห็นต่างสามารถมาแลกเปลี่ยนกันได้อย่างอิสระเลย และถ้าความขัดแย้งแตกต่างมันไม่สามารถมีทางออกตามช่องทางในระบบ ผ่านสถาบันทางการเมือง และกติกาที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน มันก็กลายเป็นเงื่อนไขของการเกิดความรุนแรง ซึ่งชนชั้นนำเป็นฝ่ายสร้างขึ้นเอง โดยเฉพาะร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่ตอบโจทย์ปัญหาที่สังคมเผชิญอยู่ มิหนำซ้ำยังแก้ไขได้ยากหรือจริงๆ ต้องพูดว่าแทบแก้ไขไม่ได้เลยด้วยซ้ำ ซึ่งมันเท่ากับการวางระเบิดเวลาไว้ในอนาคต

-
จริงๆ เงื่อนไขของการเกิดความรุนแรงในเมืองไทยมีอยู่ตลอดในประวัติศาสตร์ เพราะการสร้างระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยและการสถาปนาสถาบันการเมืองให้ เข้มแข็งถูกตัดตอนตลอดเวลา พอกลไกในระบบอ่อนแอและสถาบันการเมืองต่างๆ อ่อนแอ การเมืองจึงจบลงที่การใช้ความรุนแรงได้ง่าย การรัฐประหารเป็นความรุนแรงทางการเมืองที่ชัดเจนและเกิดขึ้นบ่อยครั้งที่สุด ในการเมืองไทย

-
การเมืองไทยไม่ใช่การเมืองที่สงบ ความคิดว่าเมืองไทยเป็นสยามเมืองยิ้มนั้นเป็นมายาคติที่ใหญ่ที่สุด เราเป็นสังคมที่มีการนองเลือดและการปราบปรามประชาชนโดยรัฐบ่อยครั้งมากที่ สุดประเทศหนึ่ง ฉะนั้นเงื่อนไขในการเกิดความรุนแรงมันมีมาตลอดประวัติศาสตร์ ยิ่งตั้งแต่ช่วงปี 2548 เป็นต้นมา ที่เงื่อนไขในการใช้ความรุนแรงเกิดขึ้นทั้งจากรัฐและขบวนการประชาชนเอง คือทิศทางอันหนึ่งของขบวนการภาคประชาชนกลุ่มต่างๆ หลัง 2548 มีแนวโน้มของการเคลื่อนไหวแบบแตกหักเผชิญหน้าและไม่ปฏิเสธยุทธวิธีรุนแรง เสียทั้งหมด จึงทำให้เงื่อนไขในการเกิดความรุนแรงมีสูงขึ้น

-
แต่เปรียบเทียบกันแล้ว เงื่อนไขในการเกิดความรุนแรงก็ยังคงเกิดจากรัฐมากที่สุด เมื่อชนชั้นนำที่ควบคุมรัฐอยู่รู้สึกว่าตนเองเสียการควบคุมก็จะใช้ความ รุนแรงเพื่อกระชับอำนาจ เช่น รัฐประหารหรือปราบปรามประชาชน หรือในระยะหลังรูปแบบที่น่าสนใจคือ ชนชั้นนำบวกกับภาคประชาชนบางกลุ่มจงใจสร้างวิกฤตให้เกิดขึ้นบนท้องถนนเพื่อ สร้างสภาวะให้ดูเหมือน "รัฐอัมพาต" ที่เรียกกันว่ารัฐล้มเหลว แต่มันไม่ได้ล้มเหลวตามธรรมชาติ มันถูกจงใจสร้างขึ้น ปูทางไปสู่การรัฐประหาร คือ กลไกรัฐด้านความมั่นคงเองปล่อยให้ความรุนแรงยืดเยื้อโดยตัวเองนิ่งเฉยเพื่อ สร้างความชอบธรรมให้กับการเข้ามายึดอำนาจเพื่อรักษาความสงบของตนเอง ซึ่งเป็นอะไรที่มหัศจรรย์

-
ดังนั้น เมื่อเทียบสัดส่วนกันแล้ว รัฐเป็นฝ่ายที่ใช้ความรุนแรงมากที่สุดและทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตมาก ที่สุด และปัจจุบันเราอยู่ในรัฐที่ใช้อำนาจเข้มข้นที่สุดนับจาก 6 ตุลา 2519 เป็นต้นมา มีลักษณะ repressive มากเพื่อสร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัว และควบคุมประชาชนไม่ให้คิดเห็นแตกต่างจากรัฐ และจากร่างรัฐธรรมนูญบวกคำถามพ่วงที่ให้ส.ว. มีส่วนเลือกตั้งนายกฯ ด้วย ก็สะท้อนชัดเจนว่าผู้มีอำนาจยังต้องการสืบทอดและรักษาอำนาจต่อไป รัฐแบบนี้เมื่อเผชิญกับการต่อต้านและการเคลื่อนไหวจากประชาชน ย่อมไม่ลังเลที่จะยกระดับการใช้อำนาจปราบปรามประชาชนด้วยความรุนแรง อย่างที่เห็นชัดเจนในประวัติศาสตร์ระยะใกล้ในปี 2553

-
เงื่อนไขที่จะทำให้เกิดความรุนแรงน่าจะอยู่ที่ช่วงหลังเลือกตั้ง ถ้าผลการเลือกตั้งออกมาในลักษณะที่ผิดคาด ทำให้ชนชั้นนำจากระบอบรัฐประหารสูญเสียอำนาจในการควบคุม อาจมีการใช้กำลังเพื่อกระชับอำนาจกลับมา หรือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งพยายามจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งทำได้ยากมาก ก็อาจเผชิญกับแรงโต้กลับอย่างรุนแรง

-
นอกจากนี้ เงื่อนไขของความรุนแรงอาจเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงการทำประชามติ กรณีที่ประชามติไม่ผ่าน แล้วผู้มีอำนาจตัดสินใจนำรัฐธรรมนูญที่มีความไม่เป็นประชาธิปไตยยิ่งกว่า ร่างนี้มาประกาศใช้ เท่ากับไม่ฟังเสียงสะท้อนของประชาชน ณ จุดนั้นอาจสร้างเงื่อนไขของการเผชิญหน้าและความรุนแรงขึ้นได้

-
คิดอย่างไรกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คิดว่าจะได้ประกาศใช้ไหม และหากประกาศใช้จริง ประเด็นใดที่ concern มากที่สุด

-
รัฐธรรมนูญฉบับนี้จริงๆ วิเคราะห์ง่าย ไม่มีอะไรซับซ้อนเพราะเจตนารมณ์ของผู้ร่างและผู้มีอำนาจเบื้องหลังผู้ร่าง นั้นมีความชัดเจน คือ อย่างที่ตอบไปในตอนแรกว่า ร่างนี้ต้องการควบคุม "ประชาธิปไตยแบบเสียงข้างมาก" โดยลดทอนอำนาจของพรรคการเมือง ผู้เลือกตั้งและรัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาปรกติ และถ่ายโอนอำนาจไปให้กับชนชั้นนำเสียงข้างน้อยที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง คือกองทัพ ราชการพลเรือน ศาล องค์กรอิสระ แต่ก็ต้องรักษาฉากหน้าของประชาธิปไตยให้พอมีอยู่บ้าง ไม่อย่างนั้นจะไม่มีความชอบธรรม เช่น ยอมรับให้มีการจัดการเลือกตั้ง มีส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งในรัฐสภา แต่ผ่านระบบเลือกตั้งแบบใหม่ที่ทำให้ระบบพรรคการเมืองอ่อนแอ กลายเป็นเบี้ยหัวแตก ซึ่งดูแล้วคสช. ค่อนข้างมั่นใจว่าจะสามารถผลักดันร่างนี้ให้ผ่านประชามติได้ แบบเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในการทำประชามติรัฐธรรมนูญปี 2550 อย่าลืมเราอยู่ในรัฐที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพประชาชนยิ่งกว่าตอนปี 2550 และรัฐคงทุ่มทรัพยากรและใช้กลไกความมั่นคงทั้งหนักและเบาทุกอย่างภายใต้การ ควบคุมเพื่อผลักดันรัฐธรรมนูญนี้ให้ผ่านประชามติให้ได้

-
แต่สถานการณ์เริ่มไม่แน่นอน เพราะกลุ่มต่างๆ ที่อยู่ต่างขั้วต่างสีกันค่อยๆ ทยอยออกมาประกาศไม่รับร่าง แม้แต่พรรคประชาธิปัตย์ก็ออกมาประกาศไม่รับคำถามพ่วงและชี้ว่าไม่เห็นด้วย กับเนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คืออาจจะพูดได้ว่าทั้งในภาคการเมืองและภาคประชาสังคม ตอนนี้เริ่มมีการก่อตัวของฉันทามติบางอย่างที่จะไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ นี้ แน่นอนว่าแต่ละกลุ่มแต่ละพรรคมีเหตุผลและแรงจูงผลักดันต่างกันในการไม่รับ ร่าง แต่ผลก็คือโมเมนตัมตอนนี้มันไปในทางไม่รับ เพราะคนเริ่มเห็นแล้วว่าเนื้อหาไม่ตอบโจทก์การแก้ปัญหาสังคมไทยอำนาจมันไป กระจุกตัวที่คนกลุ่มเดียวคือ ชนชั้นนำในระบบราชการ ตัดอำนาจและการมีส่วนของคนกลุ่มอื่นไปหมด ทั้งพรรคการเมือง ภาคประชาสังคม และประชาชนผู้เลือกตั้งทั่วไปคือคนเทียบข้อดีกับข้อเสียแล้ว เห็นว่าข้อเสียมันมีมากกว่า

-
คือเท่าที่ผมพยายามตามอ่านอย่างละเอียดข้อดีข้อเดียวของฝ่ายรัฐบาลและผู้ สนับสนุนร่างนี้ที่มีการยกมาก็คือการปราบโกง ยังไม่เห็นมีใครยกข้อดีข้ออื่นขึ้นมาชัดๆ เลย แต่รัฐธรรมนูญที่ตัดสิทธิเสรีภาพประชาชนและรวมศูนย์อำนาจกลับไปที่รัฐราชการ ส่วนกลางมันไม่มีทางปราบโกงได้ เพราะประวัติศาสตร์ไทยที่ผ่านมามันชี้ให้เห็นว่าระบบราชการรวมศูนย์ภายใต้ โครงสร้างรัฐแบบอุปถัมภ์คือต้นตอสำคัญของการคอร์รัปชั่นของสังคมไทย นี่แหละคือเนื้อดินที่หล่อเลี้ยงให้การคอร์รัปชั่นมันดำรงอยู่มาอย่างยาวนาน ถามว่าหลังรัฐประหารมานี้ คอร์รัปชั่นมันหายไปหรือไม่ มันไม่ได้หายไป แต่สื่อและประชาชนตรวจสอบไม่ได้ ใครก็ตรวจสอบเอาผิดไม่ได้ เพราะรัฐอำนาจนิยมมีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จในมือปิดกั้นการตรวจสอบ ใครพยายามจะตรวจสอบก็จะโดนข่มขู่คุกคามหรือไม่ก็ถูกจับไปปรับทัศนคติ กรณีคอร์รัปชั่นที่ชวนสงสัยต่างๆ ก็ถูกทำให้เงียบหายไปด้วยอำนาจรัฐและด้วยการประดิษฐ์คำใหม่ๆ มาเรียกแทน จากคอมมิสชั่นก็กลายเป็น "ค่าที่ปรึกษา" ประชาชนกลุ่มต่างๆ ก็เริ่มเห็นประเด็นนี้แล้ว แม้แต่องค์กรประชาสังคมที่เคยสนับสนุนคสช.ในช่วงต้น ทำให้จุดขายเรื่องปราบโกงมันเลยไม่ค่อยมีน้ำหนักเพราะมันไม่ได้สร้างระบบการ เมืองที่โปร่งใสและอำนาจเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง มันแค่ลดทอนอำนาจนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง และเอาอำนาจไปให้ชนชั้นนำอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งใช้แทน โดยประชาชนและสื่อตรวจสอบควบคุมไม่ได้ บทเรียนจากทั่วโลกที่เขาประสบความสำเร็จในการปราบโกงก็ชี้ชัดแล้วว่าหัวใจ สำคัญคือ ความแข็งขันของสื่อและประชาชน รัฐธรรมนูญเฉยๆ ในฐานะกระดาษแผ่นหนึ่งมันปราบโกงไม่ได้

-
ดังนั้นโอกาสที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะถูกคว่ำในการลงประชามติมีอยู่ไม่ น้อย ถ้าบรรยากาศการลงประชามติมีเสรีภาพอย่างแท้จริงและมีองค์กรต่างชาติมาร่วม สังเกตการณ์ อย่างไรก็ตาม พอกระแสการไม่รับร่างมันเริ่มแพร่หลายออกไป ชัดเจนว่ากลุ่มผู้มีอำนาจรัฐเริ่มกลัวประชามติจะไม่ผ่าน และยิ่งใช้อำนาจอย่างเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ ในการปิดกั้นและปราบปรามประชาชนที่เห็นต่างจากรัฐ และตอนนี้ก็เริ่มมีสัญญาณว่าเราอาจไม่ได้ทำประชามติกันด้วยซ้ำ

-
ณ ตอนนี้ยังไม่เห็นกลุ่มไหนออกมาประกาศชัดๆ ว่ารับร่างรัฐธรรมนูญนี้แบบ 100% แบบว่าสนับสนุนแบบเต็มที่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ดีจริงๆ อย่างมากก็บอกว่าไม่ขี้เหร่มาก พอรับได้ หรือบางคนบอกว่าให้รับไม่ใช่เพราะเห็นว่าดี แต่กลัวได้ฉบับที่แย่กว่านี้ คือในแง่หนึ่งก็ตลกดี มันเป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่มีใคร (นอกจากผู้ร่างเอง) ชื่นชมได้อย่างเต็มปากอย่างจริงใจว่ามันดีและมันสามารถแก้ปัญหาประเทศได้ นอกจากพรรคขนาดกลางบางพรรค ซึ่งเข้าใจได้อยู่แล้ว อันนี้ไม่มีอะไรน่าแปลกใจเลย เพราะพรรคดังกล่าวเป็นพรรคท้องถิ่นแบบเจ้าพ่อที่ไม่มีทั้งอุดมการณ์และ นโยบายเป็นจุดขาย และเป็นพรรคที่จะได้ประโยชน์จากระบบเลือกตั้งแบบใหม่มากที่สุด เพราะระบบเลือกตั้งใหม่มันเน้นให้เลือกตัวบุคคล เอาส.ส.เขตเป็นฐานและจากการคำนวณคร่าวๆ แล้วพรรคขนาดกลางจะได้ที่นั่งมากกว่าเดิมมากพอสมควร

-
สำหรับผมประเด็นที่น่าวิตกมากที่สุดคือ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มันแทบไม่เปิดช่องให้มีการแก้ไข ลองไปอ่านดู เงื่อนไขต่างๆ ที่วางไว้มันแทบจะทำให้แก้ไขไม่ได้เลย ฉบับ 2550 ว่ายากแล้ว มาเจอฉบับนี้แทบจะปิดประตูตายในการแก้ไข ปัญหาก็คือรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีจุดอ่อนขอบกพร่องมากมาย ลดทอนอำนาจอธิปไตยของประชาชน และสร้างระบอบการเมืองของชนชั้นนำที่เป็นอำนาจนิยมในขณะเดียวกันก็เป็นระบบ ที่จะไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่ว่าใครจะขึ้นมาเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ เพราะวางกลไกให้รัฐบาลอ่อนแอ ทำงานได้ลำบาก เป็นรัฐบาลที่สำนวนอังกฤษเรียกว่ารัฐบาลเป็ดง่อย เนื่องจากถูกออกแบบมาจากฐานของความกลัว กลัวประชาชน กลัวพรรคการเมืองมันจึงเป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่สอคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของ สังคมไทยที่ประชาชนทุกกลุ่มตื่นตัวทางการเมืองมากแล้ว และเราต้องการรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพในการผลักดันการแก้ปัญหายากๆ ที่รุมเร้าสังคมไทยอยู่มากมายนับไม่ถ้วนในปัจจุบัน การมีรัฐบาลอ่อนแอนี่จริงๆ มันไม่มีประโยชน์กับประเทศเลยนะ เพราะมันไม่มีศักยภาพที่จะผลิตหรือผลักดันนโยบายอะไรดีๆ ได้เลย มันมีแต่จะฉุดให้ประเทศหยุดนิ่งอยู่กับที่หรือไม่ก็ถอยหลังไปเรื่อยๆ ทีนี้พอรัฐธรรมนูญแทบไม่เปิดช่องให้แก้ไขได้ ก็เท่ากับมันทำให้สังคมไทยไม่มีทางออกในอนาคต และสร้างเงื่อนไขให้เกิดความรุนแรงอีกครั้ง

-
ดูจากร่างรัฐธรรมนูญ ชัดเจนว่าทหารต้องการสถาปนาอำนาจของตัวเองในทางการเมืองให้กลายเป็นสถาบัน ที่ได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ คือ จะ "อยู่ยาว" คำถามคือทหารต้องการจะอยู่ยาวไปถึงเมื่อไร เป้าหมายของการอยู่ยาวคืออะไร

-
อย่างน้อย 5 ปีตามที่เขาประกาศ แต่ก็อาจจะนานกว่านั้น เพราะส.ว.ชุดแรกอยู่ในอำนาจ 5 ปี คือนานกว่ารัฐบาล จึงอาจกำหนดตัวคนเป็นนายกฯ ได้ถึง 2 ครั้ง ซึ่งเท่ากับ 8 ปี และบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญก็อาจถูกต่ออายุได้อีกโดยอ้างความจำเป็นของ สถานการณ์ที่ไม่ปกติ โดยเป้าหมายก็คือคุมการ "เปลี่ยนผ่าน" ซึ่งทหารย้ำอยู่บ่อยครั้ง ทุกคนทราบดีกว่าสังคมไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่และในช่วง เปลี่ยนผ่านนี้ความสัมพันธ์ทางอำนาจและดุลอำนาจของชนชั้นนำทุกกลุ่มในสังคม ไทยกำลังปรับเปลี่ยนอย่างมโหฬาร ทหารไม่อาจยอมให้มีสุญญากาศเกิดขึ้นในระยะเปลี่ยนผ่านที่เปราะบางนี้ กองทัพเชื่อมั่นว่าตัวเองเท่านั้นที่สามารถคุมการเปลี่ยนผ่านนี้ให้สงบได้ แต่จริงๆ มันไม่ใช่แค่ความเชื่อ กองทัพมีผลประโยชน์ผูกพันในระบบที่ทำให้ต้องเข้ามาเป็นคนกำหนดทิศทางของการ เปลี่ยนผ่านซะเอง อย่าลืมว่ากองทัพเป็นชนชั้นนำเก่าแก่ที่ครองอำนาจในการเมืองไทยมาเป็นระยะ เวลายาวนาน แม้ว่าประเทศจะผ่านช่วงที่เข้าสู่ประชาธิปไตยอยู่เป็นระยะๆ แต่อำนาจของกองทัพไม่เคยหายไปจากการเมืองไทยโดยสิ้นเชิง เหมือนที่นักวิชาการบางคนเปรียบกองทัพว่าทำหน้าที่เสมือน "รัฐพันลึก" (แอเจนี เมริโอ) หรือ "รัฐคู่ขนาน" (พอลแชมเบอร์ และนภิสา ไวฑูรเกีรติ 2016) ในระบบการการเมืองไทย

-
หลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 กลุ่มชนชั้นนายทุนต้องกระโดดเข้ามาเล่นการเมืองเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชน ชั้นตัวเอง สำหรับกองทัพ ในช่วงวิกฤตการเมืองที่ผ่านมารวมทั้งในระยะเปลี่ยนผ่านนี้ เป็นช่วงที่สร้างความหวาดวิตกให้กับชนชั้นนำในกองทัพอย่างมาก เพราะปัจจัย 3 ประการคือ 1.ฐานความชอบธรรมของชนชั้นนำแบบประเพณีกำลังลดน้อยถอยลง 2.พรรคการเมืองกลับมีความเข้มแข็งและมีฐานเสียงมวลชนที่ขยายตัวใหญ่โตอย่าง ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน 3.การเกิดขึ้นของการเมืองแบบมวลชนที่มีคนเข้าร่วมมหาศาลและเป็นการเมืองที่ มีลักษณะเชิงอุดมการณ์ สามปัจจัยนี้มันทำให้กองทัพวิตกกังวลกับสถานะ อำนาจ และผลประโยชน์ตนเอง เพราะมันอยู่นอกเหนือการควบคุมของกองทัพ โดยเฉพาะในการเมืองแบบเลือกตั้งซึ่งเป็นพื้นที่ที่กองทัพไทยไม่มีความถนัด และไม่มีทักษะที่จะแข่งขันได้เลย ผิดกับกองทัพในหลายประเทศที่ปรับตัวเข้าสู่เกมการเลือกตั้งเพื่อรักษาอำนาจ ของตนเอง

-
ด้วยเหตุเหล่านี้กองทัพจึงต้องการมา "คุมเกม" เพื่อสถาปนาระเบียบการเมืองใหม่ new political order ในสถานการณ์ที่ระเบียบการเมืองเก่าที่ดำรงอยู่มายาวนานกำลังจะเสื่อมไป ในกระบวนการ "คุมเกม" นี้ ก็ลดทอนอำนาจของพรรคการเมืองให้อ่อนแอลง ทำให้พรรคการเมืองเชื่องและการเลือกตั้งไม่เป็นภัยคุกคามสำหรับชนชั้นนำเดิม อีกต่อไป ในขณะเดียวกันก็กดปราบภาคประชาชนทุกสีให้สงบราบคาบเพื่อควบคุมไม่ให้มีการ เคลื่อนไหวมวลชนขนานใหญ่ได้ในช่วงเปลี่ยนผ่าน

-
ที่สำคัญ นอกจากสองกลุ่มนี้แล้ว ทหารกำลังปรับความสัมพันธ์กับกลุ่มอำนาจอื่นในเครือข่ายเดียวกันด้วย เช่น กลุ่มนายทุน แบบเดียวกับในสมัยสฤษดิ์ ที่ทหารกับกลุ่มทุนบางกลุ่มก่อตัวเป็นพันธมิตรที่เอื้อประโยชน์ให้กันและกัน ภาคประชาชนจำนวนมากก็คงตระหนักแล้วว่าหลังรัฐประหารครั้งนี้ มีการฉวยใช้อำนาจรัฐเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนมากมายมหาศาล มีการใช้กลไกรัฐไปรุกรานและละเมิดสิทธิชุมชนและชาวบ้านเพื่อให้กลุ่มทุน ดำเนินกิจกรรมสะสมทุนได้อย่างสะดวก ไม่ว่ามันจะผิดระเบียบหรือทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างไร คือจริงๆ ถ้าศึกษาประวัติศาสตร์ก็จะพบว่ากองทัพไทยตั้งแต่หลัง 2500 ไม่ได้มีอุดมการณ์ต่อต้านทุนหรือเป็นปฏิปักษ์กับระบบทุนนิยม กองทัพอยู่ข้างทุน เขาแค่ต้องการให้ทุนต้อง "จิ้มก้อง" เค้าต่างตอบแทนกัน และเพิ่มอำนาจและโอกาสให้ตนเข้ามาแสวงหาประโยชน์จากระบบทุนนิยมด้วย

-
นอกจากนี้สิ่งที่เราเห็นหลังรัฐประหารเป็นต้นมาคือ กระบวนการที่กองทัพสถาปนาให้ตนกลายเป็น hegemonic rulerกลุ่มใหม่ที่จะครองอำนาจในระยะยาวมิใช่คนที่ต้องคอยคอยแชร์อำนาจหรือ อยู่ใต้อำนาจของชนชั้นนำกลุ่มอื่น เห็นได้ชัดทั้งในเรื่องการเพิ่มงบประมาณ เพิ่มอภิสิทธิ์ เพิ่มเงินเดือน เพิ่มกำลังพล ขยายขอบเขตการใช้อำนาจ แก้กฎระเบียบต่างๆ จัดวางบุคลากรในกองทัพเข้าไปยึดกุมวิสาหกิจของรัฐ องค์กรของรัฐ รวมทั้งองค์กรอิสระต่างๆ ที่สำคัญที่สุดก็คือ เอาอำนาจตัวเองไปใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญผ่านส.ว.แต่งตั้ง ซึ่งเท่ากับกองทัพมีพรรคการเมืองของตัวเอง มีเสียงในสภา 250 เสียง คิดเป็นครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนฯ โดยไม่ต้องลงเลือกตั้ง

-
ในฐานะที่อาจารย์ศึกษาเรื่องการเมืองยุคเดือน ตุลา คิดว่าแนวโน้มที่ประชาชนจะลุกฮือขึ้นโค่นล้มรัฐบาลในครั้งนี้จะเกิดขึ้นได้ หรือไม่ เงื่อนไข บริบท และปัจจัยแวดล้อมอะไรที่จะทำให้ไม่เกิดขึ้น

-
อันที่จริง อย่างที่ผมกล่าวไปข้างต้น 1 ทศวรรษที่ผ่านมาคือทศวรรษที่ภาคประชาชนไทยเข้มแข็งที่สุดและมีส่วนร่วมมาก ที่สุด กลายเป็นตัวละครทางการเมืองที่มีบทบาทและมีอิทธิพลมาก แต่จนถึงปัจจุบันนับเป็นเวลา 2 ปีแล้วหลังการรัฐประหาร ที่ถามว่าทำไมเราไม่เห็นการลุกฮือขึ้นของประชาชนเพื่อต่อต้านรัฐบาล ผมคิดว่ามีปัจจัย 2 ประการ ประการแรก คือระดับการควบคุมและละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยรัฐบาลหลังการรัฐ ประหาร และประการที่ 2 ความแตกแยกแบ่งขั้ว (polarization) ระหว่างภาคประชาชนเอง ในประการแรก ข้อมูลและรายงานจำนวนมากชี้ให้เห็นว่าระบอบรัฐประหารครั้งนี้มีลักษณะ repressive สูงกว่ารัฐบาลรัฐประหารในปี 2549 มาก ตั้งแต่วันที่ยึดอำนาจก็มีการจับกุมคุมขังและล็อคตัวแกนนำนักเคลื่อนไหว ทันที จนถึงทุกวันนี้ระดับของการควบคุมและปิดกั้นก็ยังไม่ลดลง แม้แต่กลุ่มนักศึกษาก็ยังถูกจับกุมติดคุกแม้ว่าจะเคลื่อนไหวอย่างสงบสันติ เพียงใดก็ตาม และการควบคุมปิดกั้นนี้มีทีท่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อการทำประชามติใกล้เข้ามา จึงเป็นสาเหตุที่เข้าใจได้ที่ภายใต้บรรยากาศแห่งความหวาดกลัวเช่นนี้ การเคลื่อนไหวจากภาคประชาชนไม่ปรากฏ เพราะไม่มีใครอยากเสี่ยงตาย เสี่ยงคุกเสี่ยงตารางกับอนาคตการเมืองข้างหน้าที่ยังมองไม่เห็นทางออกหรือ ทางเลือกที่ชัดเจน และที่ผ่านมาคนที่ตายก่อนคือประชาชนคนธรรมดา และในสังคมนี้ถ้าคุณเป็นชาวบ้าน เป็นคนจน เมื่อตายไปแล้วก็ไม่สามารถแสวงหาความยุติธรรมได้อีก ฉะนั้นถ้ามองจากตรงนี้ มันเข้าใจได้มากๆ เลยว่าทำไม "ความเคลื่อนไหวไม่ปรากฏ" การไปติเตียนต่อว่าต่อขานประชาชนด้วยกัน ผมว่ามันไม่ค่อยแฟร์นัก

-
ส่วนเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคประการที่สองก็คือ การแบ่งขั้วของภาคประชาชนไทย มันไม่เหมือนตอน 14 ตุลาฯ หรือตอนพฤษภา 2535 ที่ตอนนั้นมันชัดเจน เป็นความขัดแย้งระหว่างประชาชนสู้กับรัฐ ประชาชนแม้จะมีแนวคิดต่างกันบ้าง แต่ชัดเจนว่ามีฉันทามติบางอย่างร่วมกันในปี 16 และปี 35 คือ ไม่ยอมรับการปกครองแบบเผด็จการทหารอีกต่อไปและเชื่อว่าสังคมไทยมีทางเลือก ที่ดีกว่าถูกปกครองด้วยระบอบคณาธิปไตยของกองทัพ แต่ตอนนี้ฉันทามติแบบนี้มันไม่เหลืออยู่แล้ว ภาคประชาชนแตกเป็นสองขั้วอย่างที่ทุกคนทราบดี โดยในขั้วหนึ่งยังมีความเชื่อว่าการมีทหารปกครองนั้นยังไงก็แย่น้อยกว่า นักการเมือง คือไม่ใช่ว่าทหารบริหารประเทศดีกว่ามีประสิทธิภาพกว่าหรือโปร่งใสกว่า แต่พวกเขาเกลียดนักการเมืองมากกว่า คือมันเป็นการเมืองที่ขับดันด้วยความเกลียดชัง

-
ผลของการแบ่งขั้วนี้ทำให้ชนชั้นนำในปัจจุบันปกครองง่าย หรือพูดอีกอย่างก็ได้ว่าคณะรัฐประหารเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์มากที่สุดจาก สภาวะสังคมแบ่งขั้ว ไม่ว่าการบริหารประเทศจะผิดพลาดหรือขาดประสิทธิภาพอย่างไร แต่ก็ยังปกครองได้สบายๆ เพราะกลุ่มอื่นๆ ในสังคมไทยอ่อนแอและขาดพลังเนื่องจากไม่สามารถรวมพลังกันเพื่อผลักดันการ เปลี่ยนแปลงได้ เพราะความบาดหมางและความขัดแย้งรุนแรงที่สะสมในช่วงหลายปีที่ผ่านมามันมี อยู่สูง แม้แต่การสร้างแนวร่วมกว้างๆ ก็ยากที่จะเกิดขึ้น เพราะความไว้วางใจระหว่างกันในภาคประชาสังคมมันไม่เหลืออยู่ ซึ่งถามว่าเข้าใจได้ไหม เข้าใจได้ไม่ยากเลย เพราะความขัดแย้งมันยืดเยื้อเรื้อรังและความเกลียดชังระหว่างกันมันมีอยู่ สูง แต่ตราบใดที่สภาวะแบ่งขั้วอย่างที่ไม่สามารถประสานกันได้แม้แต่เรื่องเดียว แบบนี้ยังดำรงอยู่ ทหารก็จะสามารถปกครองต่อไปได้เรื่อยๆ

-
การออกจากระบอบชนชั้นนำของกองทัพในครั้งนี้ เป็นเรื่องยาก มันต้องการฉันทามติใหม่ new consensus ร่วมกันระหว่างกลุ่มต่างๆ ในภาคประชาชนว่าเราสามารถสร้างสังคมไทยที่มีอนาคตดีกว่านี้ โดยไม่ต้องตกอยู่ภายใต้ความหวาดกลัวและความเกลียดชัง แต่เป็นการเมืองของความหวังที่ประชาชนทุกกลุ่มสามารถร่วมกันกำหนดอนาคตของ บ้านเมืองตนเองได้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าต้องรวมพลังกันในการเดินขบวนประท้วงอย่างเดียวเสมอไป มันอาจจะรวมพลังกันในรูปแบบอื่นๆ ได้หลากหลายมากมายตามแต่สถานการณ์ เช่น เฉพาะหน้านี้คือเริ่มจากการแสดงพลังร่วมกันในการลงคะแนนประชามติว่าประชาชน ทุกกลุ่มต้องการรัฐธรรมนูญที่มีเนื้อหาและกระบวนการที่ประชาชนสามารถมีส่วน ร่วมได้มากกว่าที่เป็นอยู่ มิใช่กำหนดมาแล้วโดยชนชั้นนำแบบเบ็ดเสร็จโดยที่ประชาชนไม่มีทางเลือก

-
แต่ทั้งหมดที่พูดนี้ ก็ตระหนักดีว่ามันยากมากๆ ที่จะเกิดขึ้นได้และเราอาจจะต้องอยู่กับการเมืองที่ไม่มีความหวังแบบนี้ไปอีกนานพอสมควร

-
ที่มา ประชาไท
Wed, 2016-04-27


No comments:

Post a Comment