วิทยุนปช. ยูเอสเอ

12 มีนาคม 2558 รำลึกถึงพี่วู๊ดไซด์ นิวยอร์ค แห่ง นปช.ยูเอสเอ ครบรอบร้อยวัน การมรณภาพของท่าน
::: วิทยุ นปช.ยูเอสเอ ::: :::::: วิทยุมหาวิทยาลัยประชาชน :::

Monday, June 20, 2016

“สัมมา อะระหัง” นำสุข ลองนำมาใช้ดู เพื่อสร้างสมาธิและสติกัน

"สัมมา อะระหัง" นำสุข
เรื่อง : พระบริบูรณ์ ธมฺมวิชฺโช

 

 

ภาวนา
"สัมมา อะระหัง" ๕๐๐ ครั้ง
ดวงใจพบสุข

 

 

          ไม่ว่าเราจะทำอะไรหรืออยู่ในอิริยาบถไหน ถ้าใจผูกพันกับพระรัตนตรัย ณ ตอนนั้น วินาทีนั้น พระรัตนตรัยย่อมลงซ้อนในกลางจิต คอยกลั่นแก้ คุ้มครองรักษาตลอดเวลา และอานุภาพแห่งพระรัตนตรัยนั้นเป็นอานุภาพที่ไม่อาจจะประมาณได้ ดังนั้นผู้มีปัญญาหรือนักปฏิบัติธรรมทั้งหลายพึงหมั่นนำพาจิตใจของตนเองให้คุ้นเคยและผูกพันกับพระรัตนตรัยสม่ำเสมอในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะด้วยการตรึกนึกถึงองค์พระไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ หรือ การภาวนา "สัมมา อะระหัง"อย่างต่อเนื่องด้วยจิตใจที่เลื่อมใสในพระรัตนตรัยซึ่ง ไมว่าใครก็ตาม หากสามารถปฏิบัติได้เช่นนี้ ท่านผู้นั้นย่อมประจักษ์ถึงอานุภาพอันมหัศจรรย์ ดังเรื่องราวตัวอย่างของกัลยาณมิตรผู้ยึดมั่นในพระรัตนตรัยด้วยการภาวนา "สัมมา อะระหัง" ๕๐๐ครั้ง ดังต่อไปนี้....

 

กัลฯ ทพ.ญ.พุทธธิดา วังศรีมงคล
  คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


          "ก่อนที่ลองใช้วิธีภาวนา 'สัมมา อะระหัง' เวลานั่งสมาธิจะฟุ้ง เพราะเป็นคนคิดมาก นั่งหลับบ่อย ตื่นมาก็ไม่สดชื่น รู้สึกเพลีย ทำให้ช่วงหนึ่งไม่อยากนั่งสมาธิเลย แต่เมื่อฟังเทศน์จากพระอาจารย์ปรเมษฐ์ทำให้ได้เทคนิคดี ๆ ท่านบอกว่า เวลานั่งสมาธิให้คิดว่าเป็นเรื่องสนุก เหมือนกับเวลาที่เราทำอะไรสนุก ๆแล้วเราจะมีความสุขกับมัน ก็เลยลองคิดว่าการนั่งสมาธิเป็นเรื่องสนุก พอคิดแบบนี้ก็รู้สึกมีความสุขทุกครั้งเวลานั่งสมาธิ

           "เมื่อลองนำเทคนิค 'สัมมา อะระหัง' ๕๐๐ ครั้ง มาใช้ คือ เวลาทำกิจกรรมทุกกิจกรรมก็ภาวนา 'สัมมา อะระหัง' ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะครบ ๕๐๐ ครั้ง ถ้าไม่ครบก็ภาวนาใหม่ไปเรื่อย ๆ แล้วจดบันทึกทุกครั้ง ทำให้สามารถจรดใจไว้ที่ศูนย์กลางกายได้ง่าย เวลานั่งสมาธิก็นั่งได้ดีขึ้น การคิดว่านั่งสมาธิแล้วสนุก ทำความรู้สึกให้มีความสุขกับมัน ทำให้นั่งได้ดีมากขึ้น

          "ตอนนี้รู้สึกชอบการนั่งสมาธิมากขึ้น ก็เลยอยากเชิญชวนผู้มีบุญทั้งหลายลองนำเทคนิค'สัมมา อะระหัง' ๕๐๐ ครั้ง ไปใช้ดูนะคะ ไม่ว่าจะทำอะไร ใจเราจะนิ่ง ไม่วอกแวกไปกับสิ่งรอบตัว ทำให้เราจรดใจที่ศูนย์กลางกายได้ง่ายขึ้น นั่งสมาธิก็ดีขึ้น"

 

กัลฯอิศรา ผลประเสริฐวานิช
คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

 

          "ก่อนรู้จักเทคนิคการภาวนา 'สัมมา อะระหัง' เป็นคนอารมณ์ร้อน หงุดหงิดง่าย บางทีเห็นเพื่อนอารมณ์ดีมา เราก็อารมณ์เสียใส่ ไม่รู้เป็นเพราะอะไร เวลานั่งสมาธิก็หลับ แต่หลังจากที่พระอาจารย์สอนเทคนิคการภาวนา 'สัมมา อะระหัง' แล้ว ในตอนแรก ๆ ก็ยังไม่ชิน ภาวนาได้ ๖๐ กว่าครั้ง ก็หลับ อีกเหมือนเดิม

          "ระยะหลัง ๆ เริ่มปรับปรุงตัวใหม่ มีสติมากขึ้น ตั้งเป้าภาวนาให้ได้อย่างน้อยวันละ ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังดี สำเร็จค่ะ ไม่หลับอีกเลย อารมณ์ก็เย็นขึ้น เวลาเพื่อนทำอะไรไม่ถูกใจ เรายิ้มอย่างเดียว ภายในใจก็ภาวนา 'สัมมา อะระหัง' ไปด้วย เพื่อเก็บอารมณ์ตอนนั้นไม่ให้ปะทุออกมา ไม่อยากทำให้เพื่อนเสียใจ

           "อยากแชร์ประสบการณ์ว่า ชอบภาวนา 'สัมมา อะระหัง' ก่อนนอนกับเวลาเดิน เพราะเคยได้ยินพระอาจารย์เล่าว่า ท่านนำวิธีนี้ไปให้พระธุดงค์ทำหนูลองทำและรู้สึกดีค่ะ รู้สึกนิ่งและได้อยู่กับตนเองจริง ๆ ก่อนนอนก็ภาวนา 'สัมมา อะระหัง' ไปเรื่อย ๆ จนหลับ พอตื่นขึ้นมาเห็น องค์พระผุดขึ้นมาเฉยเลยค่ะ แรก ๆ ก็ไม่คิดอะไร ภาวนาไปเฉย ๆ สุดท้ายเห็นองค์พระขึ้นมา ประสบการณ์แบบนี้มีน้อยคนที่จะได้เจอ อยากเชิญชวนให้ทุกคนลองมาภาวนา 'สัมมา อะระหัง' ด้วยกันค่ะ และใช้ 'สัมมา อะระหัง' เปลี่ยนโลกนี้ค่ะ"

 

กัลฯศิกิต อุดมคุณากร
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

 

          "ก่อนหน้านี้เคยนั่งสมาธิดี เห็นองค์พระ แต่พอไปอยู่ที่มหาวิทยาลัย ใจก็เผลอหลุดออกจากกลาง ทำให้องค์พระหาย ใช้เวลาปีกว่าแล้วก็ยังไม่ได้องค์พระกลับคืนมา จนกระทั่งได้เข้ามาอบรมธรรมทายาทหญิง พระอาจารย์แนะนำเทคนิค 'สัมมา อะระหัง' พอท่านแนะนำปุ๊บ ก็นำมาปรับใช้เลยค่ะ

"ท่านบอกให้ภาวนา 'สัมมา อะระหัง' ๕๐๐ ครั้ง เราอาจจะทำไม่ถึงก็ได้ค่ะ แต่ให้เน้นที่ความสบายของใจ ตอนนั้นเริ่มท่องเลย วันรุ่งขึ้นได้นั่งธรรมะ องค์พระก็กลับมา วันนั้นรู้สึกดีใจมาก และหลังจากรอบนั้นก็นั่งเห็นองค์พระเกือบทุกรอบเลย

           "ขอเชิญชวนทุกคนให้ลองใช้เทคนิค 'สัมมา อะระหัง' ดูค่ะ ทั้งเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ที่ยังไม่เคยเข้าถึงประสบการณ์ภายใน หรืออาจเข้าถึงแล้วแต่ทำหายเหมือนตัวหนู อยากให้ลองใช้เทคนิคนี้ดูค่ะ ช่วยได้จริง ๆ นะคะ และไม่ได้ช่วยให้นั่งสมาธิดีอย่างเดียวนะคะ เวลาเราออกจากการทำสมาธิ จะสังเกตได้ว่า ตัวเราเปลี่ยนไป อารมณ์เย็นลง สามารถรับปัญหาทุกอย่างได้ค่ะ"    

          จากเรื่องราวอานุภาพอันมหัศจรรย์ของการภาวนา 'สัมมา อะระหัง' เราจะเห็นได้ว่าคำภาวนานี้ไม่ใช่ถ้อยคำธรรมดา แต่เป็นถ้อยคำที่มีอานุภาพมาก ซึ่งพระเดชพระคุณหลวงปู่พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านได้กลั่นกรองถ้อยคำอันเป็นที่สุดให้เป็นบริกรรมภาวนาเพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้น เป็นบทพุทธคุณที่ท่านใช้สอนสานุศิษย์เป็นพิเศษทุกครั้งที่ปฏิบัติธรรมเพื่อให้ใจระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ เพราะพุทธานุสติเป็นธรรมให้จิตตื่น สว่างไสวมีกำลัง มีความกล้าที่จะปฏิบัติธรรมสืบต่อไป

 

 

 

ความหมายของคำว่า... "สัมมา อะระหัง"

            คำว่า "สัมมา อะระหัง" เป็นภาษาบาลี มีศัพท์ควบคู่กันอยู่ ๒ ศัพท์ คือ "สัมมา" และ"อะระหัง"

         "สัมมา" เป็นศัพท์ที่มีความหมายสูง แปลว่า ชอบ ในพระพุทธคุณ ๙ บท ท่านเอาศัพท์นี้เข้าคู่กับ "สัมพุทโธ" เป็นสัมมาสัมพุทโธ เป็นบทแสดงพระคุณของพระพุทธเจ้า แปลว่าผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ นอกจากนี้ยังมีใช้ในอริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วย เช่น สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นต้น

           "อะระหัง" เป็นพระพุทธคุณบทต้น แปลว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นพระอรหันต์ เมื่อเข้าคู่กันเป็น "สัมมา อะระหัง" ก็แปลว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นพระอรหันต์โดยชอบ

            บทบริกรรม "สัมมา อะระหัง" ของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ จึงมีความหมายสูงและอยู่ในขอบข่ายของพุทธานุสติ

            บท "สัมมา อะระหัง" นี้ โบราณาจารย์ท่านแยกพรรณนาพระพุทธคุณทีละอักษร คือสัม, มา, อะ, ระ, หัง ซึ่งท่านให้ความหมายแต่ละอักษรไว้ดังต่อไปนี้

       (สัม)

                           สงฺขตาสงฺขเต ธมฺเม สมฺมา เทเสติ ปาณินํ
                           สํสารสฺส วิฆาเฏติ สมฺพุทฺธํปิ นมามิหํ ฯ

                ๑. พระพุทธองค์ทรงแสดงสังขตธรรมและอสังขตธรรมโดยชอบแก่สัตว์ทั้งหลาย
                ๒. พระพุทธองค์ทรงทำลายการเวียนเกิดเวียนตายได้
                ๓. พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง

ข้าพเจ้าขอนมัสการ

           พระคาถาบทนี้ท่านบอกวิธีใช้ไว้ว่า ให้ภาวนาก่อนจะเข้าสู่สงคราม หาผู้ทำร้ายมิได้แล

       (มา)

                           มาตาว มานปาลิเต มานสตฺเต ปมทฺทิ โย
                           มานิโต เทวสงฺเฆหิ มานฆาตํ นมามิหํ ฯ

               ๑. พระพุทธองค์ทรงย่ำยีสัตว์ผู้มีมานะ (ความถือตัว) ที่มานะ (ความถือตัว) เลี้ยงไว้ดุจมารดา
               ๒. พระพุทธองค์อันหมู่ทวยเทพยอมรับนับถือ
               ๓. พระพุทธองค์ทรงทำลายมานะได้

ข้าพเจ้าขอนมัสการ

        พระคาถาบทนี้ ภาวนาเพื่อทำคนแข็งให้อ่อน หมายความว่า ถ้าบังเอิญต้องเผชิญกับคนใจแข็ง แข็งข้อ แข็งกระด้างกับท่าน โบราณาจารย์ท่านแนะนำให้ใช้คาถาบทนี้แก้ไขเหตุการณ์

       (อะ)

                           อนุสฺสาหสพฺพสตฺตานํ อนุสฺสาเหติ โย ชิโน
                           อนนฺตคุณสมฺปนฺโน อนฺตคามี นมามิหํ ฯ

              ๑. พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนคนไม่มีอุตสาหะ ให้มีความอุตสาหะ
              ๒. พระพุทธองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยคุณธรรมไม่สิ้นสุด
              ๓. พระพุทธองค์ทรงถึงที่สุดแห่งทุกข์

ข้าพเจ้าขอนมัสการ

          พระคาถาบทนี้ ภาวนาป้องกันเสือและจระเข้ หมายความว่า ถ้าท่านต้องเข้าป่าที่มีสัตว์ร้ายชุกชุม หรือต้องลงน้ำในย่านที่มีสัตว์น้ำอันตราย ถ้าทำใจให้เป็นสมาธิ ภาวนาคาถาบทนี้จะป้องกันสัตว์ร้ายได้

       (ระ)

                           รโต นิพฺพานสมฺปตฺโต รโต โส สตฺตโมจโน
                           รมาเปติธ สตฺเต โย รมทาตํ นมามิหํ ฯ

            ๑. พระพุทธองค์ทรงยินดีในธรรม ทรงบรรลุถึงพระนิพพาน
            ๒. พระพุทธองค์ทรงปลดเปลื้องสัตว์ให้พ้นทุกข์
            ๓. พระพุทธองค์ทรงยังสัตว์ให้ยินดีในพระนิพพาน
            ๔. พระพุทธองค์เป็นผู้ทรงประทานให้ซึ่งพระนิพพานอันเป็นที่ยินดี

ข้าพเจ้าขอนมัสการ

พระคาถาบทนี้ ถ้าใครยึดมั่นท่องบ่นภาวนาเป็นนิจ สามารถป้องกันการกระทำคุณผีและคุณคนทั้งปวงได้

       (หัง)

                            หญฺ ติ ปาปเก ธมฺเม หํสาเปติ ปทํ ชนํ
                            หํสมานํ มหาวีรํ  หนฺตปาปํ นมามิหํ ฯ

             ๑. พระพุทธองค์ทรงฆ่าบาปธรรม
             ๒. พระพุทธองค์ยังชนให้ยินดีซึ่งทางฆ่าบาปนั้น
             ๓. พระพุทธองค์ทรงร่าเริง
             ๔. พระพุทธองค์ทรงกล้าหาญยิ่งใหญ่
             ๕. พระพุทธองค์ทรงฆ่าบาปได้แล้ว

ข้าพเจ้าขอนมัสการ

      พระคาถาบทนี้ โบราณาจารย์ท่านแนะนำว่า ให้หมั่นเพียรภาวนาเมื่อจะเข้าสู่สงครามจะทำให้แคล้วคลาดปลอดภัยได้

      แต่ละอักขระของบท "สัมมา อะระหัง" ที่นำมาลงไว้พร้อมทั้งวิธีใช้นี้ สำหรับผู้ที่นับถือและเชื่อมั่นภาวนาให้จริงจังจนจิตเป็นสมาธิมั่นคง ย่อมได้ผลจริงดังใจหมาย..

No comments:

Post a Comment