วิทยุนปช. ยูเอสเอ

12 มีนาคม 2558 รำลึกถึงพี่วู๊ดไซด์ นิวยอร์ค แห่ง นปช.ยูเอสเอ ครบรอบร้อยวัน การมรณภาพของท่าน
::: วิทยุ นปช.ยูเอสเอ ::: :::::: วิทยุมหาวิทยาลัยประชาชน :::

Sunday, December 11, 2016

ร่าง พ.ร.บ. คอมฯ ใหม่ กำลังจะทำอะไรคุณ

ร่าง พ.ร.บ. คอมฯ ใหม่ กำลังจะทำอะไรคุณ
.
มาจนป่านนี้ เรื่องร่าง พ.ร.บ. คอมฯ ฉบับใหม่ 2559 ก็คงผ่านหูผ่านตาหลายคนมาแล้วประมาณว่า 'มันไม่ดี' 'มันจะจำกัดสิทธิเราอีกแล้ว' 'มันจะบล็อคเว็บง่ายขึ้น' แต่ก็นั่นแหละ... ยังไม่ได้อ่านรายละเอียดเพราะไม่มีเวลา
.
เรารู้ว่าทุกคนก็รู้ว่าเรื่องนี้สำคัญ แต่ก็ไม่มีเวลาอ่าน เลยลองสรุปมาให้ว่ามันมีอะไรอยู่ใน พ.ร.บ. คอมฯ ฉบับนี้ที่เราเถียงๆ กันอยู่บ้างให้อ่านสั้นๆ ไม่ยาว แป๊บเดียวๆ
.
1. เอาเบสิกก่อนเลย คือเขาจะเพิ่มฐานความผิดให้กว้างกว่าเดิม แบบ เดิมมันเขียนว่า ถ้าโพสท์ข้อมูลเท็จ จะผิดเฉพาะความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความตื่นตระหนกของประชาชน ประมาณนี้ แต่ฉบับใหม่จะเพิ่มว่า ถ้าโพสท์อะไรเท็จให้เกิดความเสียหายต่อ "สาธารณะ ต่อโครงสร้างพื้นฐาน" ก็จะผิดด้วย ซึ่งเท่านี้ก็มีปัญหาแล้วว่า เดี๋ยว... ไอ้ข้อมูลเท็จที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบนี่ตรวจสอบยังไงนะว่าเท็จ เพราะบางเรื่องมันก็เทาๆ เช่น ตัวอย่างที่คุณสฤณียกขึ้นมา บอกว่า "ถ้าฉันโพสท์เรื่องธนาคารแห่งหนึ่งว่าระบบความปลอดภัยห่วย" แบบนี้ จะถือว่าผิดเลยไหม ผิดยังไง ซึ่งการเพิ่มมาแบบนี้ก็อาจจะทำให้ฟ้องร้องกันมั่วซั่วกว่าเดิมได้
.
2.เบสิกต่อมาคือศาลบอกว่าให้ทำลายข้อมูลเท็จได้ ถ้าใครมีข้อมูลเท็จต้องทำลายให้หมดนะไม่งั้นต้องได้รับโทษครึ่งนึงของคนโพสท์ ซึ่งฟังเผินๆ เหมือนจะดี แต่ก็นั่นแหละ อะไรคือเท็จ นี่ก็มีการตั้งข้อสงสัยว่าจะเป็นการลบประวัติศาสตร์หรือเปล่า ตัวอย่างที่ยกขึ้นมาเช่นว่าบอกว่า อดีตนายกฯ สมัคร บอกว่า มีคนตายในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เพียงหนึ่งคน ซึ่งแบบ เท็จ ใช่มั้ย แล้วถ้าศาลสั่งให้ลบให้หมด แล้วจะตามได้ยังไงว่าสมัครเคยพูดแบบนี้ เออ ก็ไม่มีใครรู้อีกแล้ว ทีนี้ ก็มีคนบอกว่า นี่มันคือ Right to be forgotten หรือสิทธิที่จะถูกลืมของยุโรปโว้ย... ซึ่งมันไม่ใช่ไง ไอ้สิทธิที่จะถูกลืมนี่คือ มันไม่ได้แปลว่าลบไปทั้งหมด แค่ให้ถอดออกจากสารบัญ ออกจากการค้นหา ไม่ใช่ลบให้หายไปจากโลกนี้เหมือนไม่เคยเกิดขึ้น
.
3. ทีนี้มันมีหลายประเด็นแก อดทนกับเรานิด อีกประเด็นคือ พ.ร.บ. ใหม่นี่บอกว่า ถ้าผู้ให้บริการ (โฮสท์ ISP ต่างๆ) รู้เห็นเป็นใจ ให้ความร่วมมือกับคนโพสท์ ให้มีความผิดเช่นเดียวกับคนโพสท์ ซึ่งก็นั่นแหละ ... จะรู้ได้ไงว่ารู้เห็นเป็นใจ ฮือ... ทุกอย่างใช้การเดาเหรอแก... ทีนี้เขาเลยบอกว่า ให้ประชาชนแจ้งสิ ถ้าแจ้งแล้วต้องลบในสามวัน (โดยไม่ต้องมีคำสั่งศาล!) ซึ่งก็ฮือ... ก็ระดมแจ้ง ก็ต้องลบรัวๆ งี้เหรอแก... สวัสดี กองทัพประชาชน ระดมคนแจ้งรัว
.
4. อันที่เฮือกและทุกคนกรี๊ดก็คือ เขาจะตั้งคณะกรรมการบล็อคเว็บ ซึ่งมี 5 คน เป็น 5 คนที่เหมือนเทพเจ้าแห่งอินเทอร์เนต ที่ทำหน้าที่ยื่นศาลบล็อกเว็บ แล้วจะขอตั้งศูนย์กลางการบล็อกเว็บด้วย คือไม่ต้องแจ้ง ISP เป็นรายๆ แล้ว แล้วก็ยังครอบจักรวาลมาก แบบ... เมื่อก่อนคือจะเป็นเรื่องความมั่นคงไรงี้ซะเยอะ แต่ตอนนี้ ผิดลิขสิทธิ์ก็เอา เรื่องขัดต่อความสงบเรียบร้อยก็เอา ขัดต่อศีลธรรมอันดี (ซึ่งแปลว่าไรวะ...) ก็เอา ก็บล็อกได้หมด ไม่ผิดกฎหมายก็บล็อกได้
.
5. ทีนี้ยังมีประเด็นอื่นอีก เช่น เจ้าหน้าที่จะยึดคอมได้ง่ายขึ้น เช่น ผิดอาญา ก็ยึดคอมได้ หรือผู้ให้บริการต้องเก็บ Log ไว้นานขึ้น เช่น ถ้าเจ้าหน้าที่สั่งก็อาจจะต้องเก็บนานชั่วกัปชั่วกัลย์เลยเพราะไม่ได้กำหนดระยะเวลา ประมาณนี้
.
6. และยังมีประเด็นเรื่องการแบ่งแยกอำนาจ ที่บอกว่า เฮ้ย เรื่องทางเทคนิคยังไม่ลงไว้ในพระราชบัญญัติอะ เดี๋ยวประกาศตามมาละกันนะ ก็ทำให้คนเป็นห่วงกันว่า อ้าววววว์ แล้วเราจะแน่ใจได้ยังไงคะ ว่าสิ่งที่เธอจะประกาศมาทีหลังมันโอเคอะ คือที่มันควรจะเป็นคือ ฝ่ายนิติบัญญัติควรจะออกๆ กฎมาให้ครบ หรือไม่ก็วางหลักการให้หนักแน่นหน่อย แต่นี่บอกว่าให้ไปดูกฎกระทรวงทีหลัง ทั้งที่กรอบอะไรก็ไม่เห็นมีจำกัดอำนาจของกระทรวง ซึ่งตอนกระทรวง (ฝ่ายบริหาร) ออก เราก็มาเย้วๆ ไม่ทันแล้ว มันเลยไม่มีอะไรชัดเจนเลย
.
7. แล้วทำอะไรได้บ้าง ตอนนี้ เอาจริงๆ ก็คือต้องรณรงค์ออนไลน์นี่แหละ โดย Thai Netizen ก็บอกว่า ให้อ่านสรุปให้เยอะๆ หรือไปอ่านตัวจริงเลยก็ได้ แล้วก็ติด #พรบคอม ถ้าโอเคก็ #เราโอเค ถ้าไม่โอเคก็ #เราไม่โอเค ซึ่งไม่บังคับ ถ้ารู้สึกแบบไหนก็เอาแบบนั้นแหละ หรือถ้าใครอยากแสดงพลัง ก็ไปร่วมกันดูแนวทางการกดดันต่อได้ที่เพจ iLaw
.
ประมาณนี้ ทางเลือกก็อยู่ที่คุณแล้ว ไม่ต้องเชื่อเราก็ได้ ลองไปอ่านพ.ร.บ. คอมตัวเต็มได้
.
อ่าน "ชาวเนตพร้อมใจขานรับ พ.ร.บ. คอมเพราะมันโคตรดี"
.
อ่านร่างฉบับเต็ม 
https://ilaw.or.th/sites/default/files/คอมฯ%20ฉบับวันที่%2011%20พ.ย.%202559.pdf
.
ถ้ารู้สึกว่ามันไม่โอเค ก็ไปร่วมกันกดดันกันได้ที่
.
อ้างอิง

No comments:

Post a Comment