วิทยุนปช. ยูเอสเอ

12 มีนาคม 2558 รำลึกถึงพี่วู๊ดไซด์ นิวยอร์ค แห่ง นปช.ยูเอสเอ ครบรอบร้อยวัน การมรณภาพของท่าน
::: วิทยุ นปช.ยูเอสเอ ::: :::::: วิทยุมหาวิทยาลัยประชาชน :::

Thursday, January 26, 2017

"ประเทศเป็นของใคร” โดย ตาอยู่

"ประเทศเป็นของใคร"  
โดย ตาอยู่

ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักคือ ระบอบการปกครองครับ 

ถ้าประเทศปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยประเทศนั้นเป็นของประชาชนทุกคนและประชาชนทุกคนคือผู้ได้รับผลประโยชน์จากการทำงานของรัฐบาลครับ เราทุกคนคือผู้กำหนดทิศทางของประเทศ โดยผ่านรัฐบาลที่เราเลือกมาเป็นลูกจ้างทำงานให้เรา ถ้าลูกจ้างห่วยแตกเราสามารถไล่ออกได้ ด้วยวิธีการทางรัฐสภา และการไม่เลือกเขาในสมัยต่อไป ถ้าเขาโกงกิน คอรัปชั่น เราก็มีกฏหมายใว้ลงโทษ แต่ทั้งนี้ เราต้องมีค่านิยมที่เป็นประชาธิปไตยด้วย ระบบการปกครองมันถึงจะได้ผล(ค่านิยมที่ว่าคือหลักสิทธิมนุษยชน) ประเทศเราทุกวันนี้ ใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่เรามีค่านิยมเก่าที่ติดมาจากระบบการปกครองเก่า(ค่านิยมของสังคมแบบศักดินา) อันสืบทอดต่อเนื่องมาหลายร้อยปี จนเป็นสันดาน ด้วยเหตุนี้ค่านิยมของสังคมไทย จึงเป็นกติกาของระบบอุปถัมภ์ มีนาย มีเส้น มีบริวาร มีพวกอวย ประจบสอพลอ ที่เป็นตัวทำลายกติกา ทำลายความยุติธรรมและทำลายกฏหมาย คล้ายๆกับเก๊งค์มาเฟีย แต่รุนแรงกว่า ตรงที่ค่านิยมนี้มันลามไปทุกตัวคนไม่เว้นแม้แต่ลูกเด็กเล็กแดงจนถึงคนใหญ่คนโตและรวมถึงระบบการทำงานของรัฐบาล ผู้มีอำนาจมักสร้างความเป็นอภิสิทธิ์ชนให้ตน ด้วยการชุบเลี้ยงส่งเสริมนักการเมือง ชุบเลี้ยงนายตำรวจ ชุบเลี้ยงนายทหาร ชุบเลี้ยงผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรม กระบวนการทางกฏหมาย ให้ได้เป็นใหญ่เป็นโต เพื่ออกดดัน ควบคุม กำหนดทิศทางการทำงานของรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐให้เป็นประโยชน์แก่ตน พูดง่ายใครมีเงินก็ลงทุนขุดขุมทรัพย์ใว้ด้วยการซื้อตัวเจ้าหน้าที่รัฐพวกนี้เอาใว้แล้วกอบโกยผลประโยชน์ที่ประชาชนควรจะได้ เข้ากระเป๋าตัวเอง เพราะฉะนั้นเจ้าของประเทศนี้จึงไม่ใช่ประชาชน แต่เป็นของอภิสิทธิ์ชนไม่กี่คนเท่านั้น ทั้งที่เราปกครองด้วยระบบประชาธิปไตยซึ่งผลประโยชน์ควรจะเป็นของประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียม นี่คือค่านิยมแบบเก่าที่สร้างความยากจนให้ประชาชน ซึ่งเป็นสาเหตุที่หลายๆประเทศต้องเปลี่ยนระบบการปกครอง 



No comments:

Post a Comment