วิทยุนปช. ยูเอสเอ

12 มีนาคม 2558 รำลึกถึงพี่วู๊ดไซด์ นิวยอร์ค แห่ง นปช.ยูเอสเอ ครบรอบร้อยวัน การมรณภาพของท่าน
::: วิทยุ นปช.ยูเอสเอ ::: :::::: วิทยุมหาวิทยาลัยประชาชน :::

Thursday, April 21, 2016

ประเทศไทย ต้องปฏิบัติตาม Lieber Code,1863

การ ต้องปฏิบัติตาม Lieber Code,1863 ซึ่งเป็น กฏหมายพื้นฐานที่สำคัญของ Common Law of War หรือ กฏเกณฑ์ ธรรมเนียมประเพณี ในทางปฏิบัติของ Common Law of War

ที่ตั้งฐาน เป็น ปึกแผ่น อยู่ใน Hague Conventions, 1899 - 1907; the Geneva Conventions (ทั้งสี่ ฉบับ), 1949 พร้อมด้วย Protocol อีก สามฉบับ อันเป็นรายละเอียด ของ สนธิสัญญาใหญ่ ต่อ ประเทศไทย และ

ในประเทศไทย จะมีผลบังคับเช่นใด? ในประเทศไทย ณ ขณะปัจจุบันนี้.

๑. เมื่อท่านผู้อ่านทั้งหลาย ได้อ่านบทความ ในตอนที่แล้ว และ เมื่ออ่านบทบัญญัติของ Lieber Code, 1863 ที่ผมได้นำมาวางให้ พร้อมกับ ที่ผม ได้ถอดความ ออกมา เป็นภาษาไทย ให้ทุกๆท่าน ได้ดู และ ได้อ่าน ให้เกิด ความเข้าใจ ในแบบคนไทย

๒. ท่านจงอย่าเพียงอ่าน บทบัญญัติเหล่านั้น ในแบบผ่านตา เท่านั้น เพราะนั่นจะไม่เกิดประโยชน์ โภคผลใดๆเลย ต่อตัวท่าน และ พ่อแม่ พี่น้อง ประชาชน คนไทย แต่อย่างใด ที่ผม เขียนมา ให้อ่านนี้ ก็ใช่ว่า ผมต้องการทำตัวให้เด่นดัง ก็หาไม่ แต่ผม ต้องการสอน ความรู้ และ ถ่ายทอด ความรู้นี้ แก่ท่าน และ พ่อแม่ พี่น้อง ประชาชนคนไทย โดยไม่หวัง สิ่งใดตอบแทน ไม่ว่า ในทางการเมือง สถานภาพของตนเอง ที่เป็นอยู่ในวันนี้

๓. สิ่งที่ผมอยากเห็น ก็คือ พ่อแม่ พี่น้อง ประชาชน คนไทย ใช้ กฏเกณฑ์พื้นฐาน ของธรรมเนียม ประเพณีในการทำสงคราม และ/ หรือ การแก้ไข ระงับ ยับยั้ง และ ยุติ ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ในชาติของ เราลงได้ โดยไม่ต้องใช้ ความรุนแรง และ กำลังอาวุธ ซึ่งเป็นกฏเหล็กของโลกใบนี้ หรือ the Common Law of War on Land เป็น เหมือน อย่างคนในโลกที่เจริญแล้ว เขาใช้ เป็น กัน

๔. บทบัญญัติที่ ๔๐ หรือ Art. 40.ของ Lieber Code, 1863 นับได้ว่า เป็นบทบัญญัติที่สำคัญใน การทำสงครามทางบก หรือ อีกนัยหนึ่ง ก็คือ การแก้ไข ระงับ ยับยั้ง และ ยุติ ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ในชาติของ เรา โดยไม่ต้องใช้ ความรุนแรง และ กำลังอาวุธ เปรียบเสมือน "หัวใจ" ของ Lieber Code, 1863

"There exists no law or body of authoritative rules of action between hostile armies, except that branch of the law of nature and nations which is called the law and usages of war on land."

ถอดความออกเป็นภาษาไทย คงได้ความว่า ""ไม่มีกฏหมาย หรือ อำนาจขององค์กรแห่ง การกระทำใดๆ ในระหว่างกองทัพ ที่เป็นศัตรูประจันกัน, นอกจากกฏของธรรมชาติ และ ของชาติต่างๆ ที่เรียกขานกันว่า [กฏเกณฑ์ และ ธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติของ การทำสงครามทางบก]""ไม่มีกฏหมาย หรือ อำนาจขององค์กรแห่ง การกระทำใดๆ ในระหว่างกองทัพ ที่เป็นศัตรูประจันกัน, นอกจากกฏของธรรมชาติ และ วิถีปฏิบัติของ ชาติต่างๆ ที่เรียกขานกันว่า [กฏเกณฑ์ และ ธรรมเนียม ประเพณีปฏิบัติของ การทำสงครามทางบก]"

๕. ที่อาจเรียกได้ว่า แทรกซึมอยู่ในทุกอนูของ Lieber Code, 1863; The Hague Conventions, 1899 - 1907 และ The Geneva Conventions (ทั้งสี่ฉบับ), 1949 และ Protocol อีกสามฉบับ ที่เราอาจรวมเรียกได้ว่า "เป็น"กฏหมาย ที่วางรากฐานเอาไว้ ให้เห็นทั้งตัว บทกฏหมาย หรือ อำนาจขององค์กรแห่ง การกระทำใดๆ ในระหว่างกองทัพ ที่เป็นศัตรูประจันกัน

๗. "จะต้องใช้ กฏของธรรมชาติ และ ธรรมเนียมวิถีปฏิบัติของ ชาติต่างๆ เข้ามาตัดสิน เมื่อเกิดกรณี ที่เป็นปัญหาในทาง ที่ต้องตี ความหมาย จากกฏหมาย เมื่อสงครามสงบลง หรือ เมื่อมีเหตุการณ์ ที่เป็น "ปํญหาคาใจ" และ ต้องทำความกระจ่าง ให้เกิดขึ้น ที่เราเรียกขานกันว่า "กฏเกณฑ์ และ ธรรมเนียม ประเพณีปฏิบัติของ การทำสงครามทางบก" และ เป็นกฏเหล็กของโลก

๘. ซึ่งผมเห็นว่า นี่แหละ คือ ตัวหัวใจ ของ Lieber Code, 1863: The Hague Conventions, 1899 - 1907 และ The Geneva Conventions (ทั้งสี่ฉบับ), 1949 และ Protocol อีกสามฉบับ และ เหตุการณ์ ที่เกิดมาแล้วในประเทศไทย นับแต่การก่อตัวของ กปปส. จนนำมาสู่ เหตุการณ์ในวันที่ ๒๐ - ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๗ จนโยงมาถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศนี้ ยึดโยงกันมาจนถึง วันนี้

๙. ก่อนจบบทความนี้ จึงอยากถามไปยัง พี่น้องคนไทยทั้งหลายว่า มีหน่วยงานใดในประเทศนี้ ที่คิด จะหยิบบทบัญญัติที่ ๔๐ นี้ ขึ้นใช้ และ ชี้ให้เห็นโดยกระจ่าง ว่า "การปฏิบัติของประเทศนี้เป็น การปฏิบัติ ที่ฝ่าฝืน ต่อ กฏเกณฑ์ตามบทบัญญัติ ที่ ๔๐ นี้อย่างไร? ใคร? ต้องรับผิดชอบ แก่กรณีเช่นนี้ ทั้งๆที่ประเทศไทย ไปรับ เอามาเป็น พันธกรณี ที่ต้องปฏิบัติตาม เพราะเราให้สัตยาบัน ต่อ (สนธิสัญญาเหล่านี้) คือ The Hague Conventions, 1899 - 1907 และ The Geneva Conventions (ทั้งสี่ฉบับ), 1949 โดยสมบูรณ์ และ ขอถามพ่วงไปด้วยว่า เมื่อเรา รับเป็น พันธกรณีของ ประเทศ แล้ว ไม่ปฏิบัติตามได้ หรือ?.............(มีต่อ)
 

เครดิต  Thanaboon Chiranuvat.



No comments:

Post a Comment